เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีคนอื่นแนะนำ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นพระขีณาสพ
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ปราศจากอุปกิเลส
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะเสด็จถึงทางสายเอก
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณลำพังพระองค์เดียว
ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ขจัดความไม่รู้ได้แล้ว เพราะทรงเป็นผู้ได้
เฉพาะความรู้
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่พระภาดา
ทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและผู้ร่วมสาย-
โลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระพุทธเจ้า นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติของพระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เกิดขึ้นพร้อมกับการทรงได้เฉพาะพระสัพพัญญุตญาณที่
โคนต้นโพธิ์ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ผู้ไม่ทรงถูกกิเลสอาศัย ได้แก่ ความอาศัย 2 อย่าง คือ (1) ความ
อาศัยด้วยอำนาจตัณหา (2) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ

ว่าด้วยตัณหาทิฏฐิ
ความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา เป็นอย่างไร
คือ วัตถุที่ทำให้เป็นเขต เป็นแดน เป็นส่วน เป็นแผนก กำหนดถือเอา ยึดถือ
ว่าเป็นของเรา ด้วยส่วนแห่งตัณหามีประมาณเท่าใด ย่อมยึดถือว่าเป็นของเราซึ่ง
วัตถุประมาณเท่านี้ว่า นี้ของเรา นั่นของเรา เท่านี้ของเรา ของเรามีปริมาณเท่านี้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เครื่องปูลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสหญิงชาย แพะ แกะ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :552 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท
กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา
ซึ่งจำแนกได้ 108 นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา
ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิกฐิมีวัตถุ 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ
ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง
ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่า
เป็นจริงเห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง
ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าไม่ทรงอาศัย คือ
ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุด
พ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น...
รส... โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร...
บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ...
กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ...
เอกโวการภพ... จตุโวการภพ... ปัญจโวการภพ... อดีต... อนาคต... ปัจจุบัน...
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจ
เป็นอิสระ(จากความอาศัย)อยู่ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงถูก
กิเลสอาศัย

ว่าด้วยผู้มั่นคงด้วยอาการ 5 อย่าง
คำว่า เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ
1. เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
2. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :553 }