เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏ
คำว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง อธิบายว่า ทรงบรรเทา ทำให้เบาบาง ลด
ละ กำจัด คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืด
เพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความ
มืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริตทั้งปวง ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ
ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
รวมความว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นเอกบุรุษ
คำว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ บรรลุความยินดีแล้ว อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา
ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน
ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้
ทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรษ
ทรงปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ทรงปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ทรงปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
เสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็น
อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาค ยังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกศาดำสนิทดี เพียบพร้อมด้วย
ความหนุ่มฉกรรจ์ ในปฐมวัย เมื่อพระชนกและพระชนนี มีน้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ กรรแสงร่ำไห้ ไม่ปรารถนา(ให้ทรงผนวช) ทรงละหมู่พระญาติ ทรงตัด
ความกังวลด้วยพระยศ ความกังวลด้วยพระโอรสและพระมเหสี ความกังวลด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :547 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
พระญาติ ความกังวลด้วยพระสหายและอำมาตย์(และ)ความกังวลด้วยการสั่งสม
ทุกอย่าง ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวะ เสด็จออกผนวชจาก
พระราชวังเป็นบรรพชิต ทรงเข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จเที่ยวไป ประทับอยู่
ทรงเปลี่ยนอิริยาบถ ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้
ดำเนินไป ตามลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะ
ส่วนแห่งการบรรพชา เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน
เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงผนวชแล้วอย่างนี้ ทรงใช้สอยเสนาสนะที่
เป็นป่าทึบและป่าละเมาะอันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการ
สัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น
ตามลำพังพระองค์เดียว พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเสด็จไปพระองค์เดียว ประทับ
ยืนพระองค์เดียว ประทับนั่งพระองค์เดียว บรรทมพระองค์เดียว เสด็จเข้าสู่หมู่บ้าน
เพื่อบิณฑบาตพระองค์เดียว เสด็จกลับพระองค์เดียว ประทับนั่งในที่ลับพระองค์
เดียว ตั้งพระทัยจงกรมพระองค์เดียว เสด็จเที่ยวไป ประทับอยู่ ทรงเปลี่ยนอิริยาบถ
ทรงเป็นไป ทรงรักษาพระชนมชีพ ทรงดำเนินไป ทรงยังชีวิตให้ดำเนินไปตามลำพัง
พระองค์เดียว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน
เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้
เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นผู้ทรงเป็นเอกบุรุษ ไม่มีเพื่อนที่สองอย่างนี้
ไม่ทรงประมาท ทรงมีความเพียร ตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวอยู่ ทรงตั้งความเพียรครั้งใหญ่
ณ โคนต้นโพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาผู้ชั่วร้าย กีดกัน
ไม่ให้มหาชนหลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้
ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหาที่เป็นดุจตาข่าย ซ่านไปเกาะเกี่ยวอารมณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :548 }