เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ และศีลของตนที่น่าเลื่อมใสแก่บุคคลสัทธาจริต ย่อมตรัส
ธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา มีอาการไม่เที่ยง มีอาการเป็นทุกข์ มีอาการเป็น
อนัตตาแก่บุคคลญาณจริต (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาดี มีสมันตจักขุ
บุรุษผู้ยืนอยู่บนยอดภูเขาศิลาล้วน
พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบ แม้ฉันใด
พระองค์ผู้หมดความโศกแล้ว
โปรดเสด็จขึ้นสู่ปราสาทคือธรรม
จักได้เห็นหมู่ชนผู้ตกอยู่ในความเศร้าโศก
และถูกชาติชราครอบงำได้ชัดเจน ฉันนั้น1
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระสัพพัญญุตญาณ ตรัสเรียกว่า สมันตจักขุ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบ
ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม เพียบพร้อมแล้วด้วย
พระสัพพัญญุตญาณ(สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)
สิ่งไร ๆ ในไตรโลกธาตุนี้
พระปัญญาจักขุของพระตถาคตนั้น ไม่เห็น ไม่มีเลย
อนึ่ง ธรรมชาติอะไรๆ ที่ควรรู้
พระพุทธญาณไม่รู้แจ้งก็ไม่มี
ธรรมชาติที่ควรแนะนำใดมีอยู่
พระตถาคตได้ทรงทราบธรรมชาติที่ควรแนะนำนั้นทั้งหมด
เพราะเหตุนั้น พระตถาคตจึงชื่อว่าผู้มีสมันตจักขุ2

เชิงอรรถ :
1 วิ.ม. 4/8/9, ที.ม. 10/70/34, ม.มู. 12/282/243, ม.ม. 13/338/320, สํ.ส. 15/172/165-166,
ขุ.จู. 30/85/182-186
2 ขุ.จู. 30/85/196, ขุ.ป. 31/121/136-137

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :546 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคชื่อว่ามีพระจักษุด้วยสมันตจักขุ เป็นอย่างนี้ รวมความว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏ
คำว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง อธิบายว่า ทรงบรรเทา ทำให้เบาบาง ลด
ละ กำจัด คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความมืดเพราะราคะ ความมืด
เพราะโทสะ ความมืดเพราะโมหะ ความมืดเพราะมานะ ความมืดเพราะทิฏฐิ ความ
มืดเพราะกิเลส ความมืดเพราะทุจริตทั้งปวง ซึ่งทำให้เป็นคนตาบอด ทำให้ไม่มีจักษุ
ทำให้ไม่มีญาณ อันดับปัญญา เป็นไปในฝ่ายแห่งความลำบาก ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
รวมความว่า ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นเอกบุรุษ
คำว่า ทรงเป็นเอกบุรุษ บรรลุความยินดีแล้ว อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา
ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะอธิบายว่า ไม่มีเพื่อน
ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรษ เพราะอธิบายว่า ทรงละตัณหาได้
ทรงปราศจากราคะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรษ
ทรงปราศจากโทสะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ทรงปราศจากโมหะโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ทรงปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
เสด็จถึงทางสายเอกแล้ว จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จึงชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นเอกบุรุษ เพราะส่วนแห่งการบรรพชา เป็น
อย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาค ยังทรงหนุ่มแน่น มีพระเกศาดำสนิทดี เพียบพร้อมด้วย
ความหนุ่มฉกรรจ์ ในปฐมวัย เมื่อพระชนกและพระชนนี มีน้ำพระเนตรนอง
พระพักตร์ กรรแสงร่ำไห้ ไม่ปรารถนา(ให้ทรงผนวช) ทรงละหมู่พระญาติ ทรงตัด
ความกังวลด้วยพระยศ ความกังวลด้วยพระโอรสและพระมเหสี ความกังวลด้วย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :547 }