เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[191] (พระสารีบุตรกล่าวว่า)
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
ย่อมปรากฏแก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง
ทรงเป็นเอกบุรุษ บรรลุความยินดีแล้ว
คำว่า แก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก อธิบายว่า แก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ รวมความ
ว่า แก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าปรากฏแก่เทวดาและมนุษย์
คำว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ ย่อมปรากฏ อธิบายว่า พวกเทวดามอง
เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ประทับนั่งเหนือพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนต้น
ปาริฉัตตกะ(ต้นทองหลาง) ในภพดาวดึงส์ ทรงแสดงธรรมอยู่อย่างใด พวกมุนษย์ก็
เห็นอย่างนั้น พวกมนุษย์เห็นอย่างใด พวกเทวดาก็เห็นอย่างนั้น ทรงปรากฏแก่พวก
เทพอย่างใด ก็ทรงปรากฏแก่พวกมนุษย์อย่างนั้น ทรงปรากฏแก่พวกมนุษย์อย่างใด
ก็ทรงปรากฏแก่พวกเทพอย่างนั้น รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุ
ย่อมปรากฏ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์ ผู้เจริญเหล่านี้ ยังมิได้ฝึกตน ก็ปรากฏโดยเพศ
แห่งบุคคลผู้ฝึกแล้ว ยังมิได้สงบ ก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้สงบแล้ว ยังมิได้
เข้าไปสงบก็ปรากฏโดยเพศแห่งบุคคลผู้เข้าไปสงบแล้ว ยังมิได้ดับ ก็ปรากฏโดยเพศ
แห่งบุคคลผู้ดับแล้ว (สมจริงดังภาษิตว่า)
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ไม่บริสุทธิ์ภายใน
งามแต่ภายนอก มีบริวารห้อมล้อม เที่ยวไปในโลก
เหมือนคนโทดินหุ้มทองคำ และเหรียญโลหะครึ่งมาสก
ชุบทองคำ ฉะนั้น1
พระผู้มีพระภาคย่อมไม่ทรงปรากฏอย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/122/96

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :539 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงฝึกพระองค์แล้ว ย่อมทรงปรากฏโดยเพศแห่งผู้ฝึกแล้ว
ทรงสงบแล้ว ย่อมทรงปรากฏโดยเพศแห่งผู้สงบแล้ว ทรงเข้าไปสงบแล้ว ย่อมทรง
ปรากฏโดยเพศแห่งผู้เข้าไปสงบแล้ว ทรงดับแล้ว ย่อมทรงปรากฏโดยเพศแห่งผู้ดับ
แล้ว โดยความจริงแท้ ถ่องแท้ แน่นอน ไม่วิปริต ตามสภาพ พระผู้มีพระภาค
ทั้งหลายผู้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีอิริยาบถตามปกติ ทรงสมบูรณ์ด้วยปณิธิ
(การตั้งความปรารถนา) รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏ
อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคมีพระเกียรติอันบริสุทธิ์ ทรงเพียบพร้อมด้วยพระ
กิตติศัพท์และความสรรเสริญ ทรงเป็นเช่นนี้ เป็นเช่นนั้น และทรงเป็นยิ่งกว่านั้นในภพนาค
ภพครุฑ ภพยักษ์ ภพอสูร ภพคนธรรพ์ ภพท้าวมหาราช ภพพระอินทร์ ภพพระพรหม
และภพเทพ รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเพียบพร้อมด้วยพละ1 10 เวสารัชชญาณ2 4
ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 ย่อมทรงปรากฏ คือ คนรู้จัก คนเข้าใจได้
ด้วยพระเตชธรรม พระพลธรรม พระคุณธรรม พระวิริยะ และพระปัญญา
(สมจริงดังภาษิตว่า)
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล
เหมือนภูเขาหิมพานต์ ฉะนั้น
อสัตบุรุษทั้งหลาย ณ ที่นี้ ย่อมไม่ปรากฏ
เหมือนลูกศรที่ยิงไปเวลากลางคืน ฉะนั้น3
รวมความว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุย่อมปรากฏ อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 พละ 10 หมายถึงตถาคตพลญาณ ดูเชิงอรรถข้อ 50/175
2 ดูเชิงอรรถข้อ 50/175
3 ขุ.ธ. 25/304/69

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :540 }