เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
16. สารีปุตตสุตตนิทเทส1
อธิบายสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายสารีปุตตสูตร ดังต่อไปนี้
[190] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้)
พระศาสดา ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะอย่างนี้
ได้เสด็จจากภพดุสิตมาเป็นพระคณาจารย์
ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
ทั้งไม่เคยได้ยินจากใคร ๆ มาเลย
คำว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น อธิบายว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้า
ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยตานี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือ ในกาลใด
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนไม้ปาริฉัตตกะ
ในภพดาวดึงส์ อันหมู่เทวดาแวดล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนครทางบันไดแก้วมณี
ตรงกลาง ในกาลนั้น เว้นการเห็นครั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นในกาลก่อนเลย
รวมความว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าว ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำ
เชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและยำเกรง
คำว่า พระสารีบุตร เป็นชื่อของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การ
ขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ
ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/962-982/520-524

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :535 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ ในคำว่า ทั้งไม่เคยได้ยินจากใคร ๆ มาเลย เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ทั้ง เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความ
สัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ทั้ง นี้ เป็นคำเชื่อมบท
หน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ใคร ๆ ได้แก่ ใคร ๆ คือ ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ รวมความว่า ทั้งไม่เคยได้ยินจากใคร ๆ มาเลย

ว่าด้วยพระสุรเสียงของพระพุทธเจ้าประกอบด้วยองค์ 8
คำว่า พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะอย่างนี้ อธิบายว่า พระศาสดา
ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะ คือ เป็นผู้มีพระสุรเสียงอ่อนหวาน มีพระสุรเสียงเป็นที่ตั้ง
แห่งความรัก มีพระสุรเสียงดูดดื่มหทัย มีพระสุรเสียงเสนาะดุจเสียงนกการเวก
ก็พระสุรเสียงที่ประกอบด้วยองค์ 8 เปล่งออกจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น คือ

1. สละสลวย 2. เข้าใจง่าย
3. ไพเราะ 4. น่าฟัง
5. กลมกล่อม 6. ไม่แปร่ง
7. ลึกล้ำ 8. ก้องกังวาน

เมื่อใด พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงประกาศให้บริษัททราบด้วยพระ
สุรเสียง เมื่อนั้น พระสุรเสียงของพระองค์ไม่ออกไปนอกบริษัท พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม มีปกติตรัสไพเราะดุจเสียงนกการเวก
รวมความว่า พระศาสดาผู้มีพระสุรเสียงไพเราะอย่างนี้
คำว่า พระศาสดา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่ ชื่อว่าพระศาสดา
เหมือนบุคคลผู้นำหมู่เกวียน ย่อมนำหมู่เกวียนข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้าม
ออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะโจร ที่กันดารเพราะสัตว์ร้าย ที่กันดารเพราะอดอยาก
ที่กันดารเพราะขาดน้ำ ได้แก่ ให้ถึงถิ่นที่ปลอดภัย ฉันใด พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงนำหมู่
ย่อมทรงนำหมู่ข้ามที่กันดาร ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามออก ข้ามพ้นที่กันดารเพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :536 }