เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ
สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
มุนีนั้น เป็นผู้สงบ
คำว่า คลายความตระหนี่ อธิบายว่า มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ (1) อาวาส-
มัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
ความตระหนี่นี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า คลายความตระหนี่
คือ ปราศจากความตระหนี่ สละความตระหนี่ คายความตระหนี่ ปล่อยความตระหนี่
ละความตระหนี่ สลัดทิ้งความตระหนี่ รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่
คำว่า ไม่ยึดถือ ในคำว่า ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ยึดถือ คือ
ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร...
วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา
ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป
ไม่ทำให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งวัฏฏะ รวมความว่า ไม่ยึดถือ
คำว่า ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งรูป คือ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความ
ไม่มีอีก ซึ่งเวทนา... สัญญา...สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ...
ภพ... สงสาร... วัฏฏะ รวมความว่า ไม่สลัดทิ้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ... คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน
ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย
มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง1
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15 จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ. สุ. 25/961/520

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :534 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
16. สารีปุตตสุตตนิทเทส1
อธิบายสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตรกล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายสารีปุตตสูตร ดังต่อไปนี้
[190] (ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้)
พระศาสดา ผู้มีพระสุรเสียงไพเราะอย่างนี้
ได้เสด็จจากภพดุสิตมาเป็นพระคณาจารย์
ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
ทั้งไม่เคยได้ยินจากใคร ๆ มาเลย
คำว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น อธิบายว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้า
ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นด้วยตานี้ ด้วยอัตภาพนี้เลย คือ ในกาลใด
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ โคนไม้ปาริฉัตตกะ
ในภพดาวดึงส์ อันหมู่เทวดาแวดล้อมเสด็จลงสู่สังกัสสนครทางบันไดแก้วมณี
ตรงกลาง ในกาลนั้น เว้นการเห็นครั้งนี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นในกาลก่อนเลย
รวมความว่า ก่อนหน้านี้ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็น
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าว ดังนี้ เป็นบทสนธิ เป็นคำ
เชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ท่าน เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ คำว่า
ท่าน นี้ เป็นคำกล่าวที่มีความเคารพและยำเกรง
คำว่า พระสารีบุตร เป็นชื่อของพระเถระนั้น คือ เป็นการกล่าวถึง การ
ขนานนาม การบัญญัติ ชื่อที่เรียกกัน ชื่อ การตั้งชื่อ ชื่อที่ตั้งให้ ภาษา พยัญชนะ
ชื่อเรียกเฉพาะ รวมความว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวดังนี้

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/962-982/520-524

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :535 }