เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปรารภอภิสังขาร มีใจเป็นอิสระ(จากอภิสังขาร)อยู่ รวม
ความว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร
คำว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง อธิบายว่า ราคะ โทสะ
โมหะ... กิเลสทั้งหลาย เป็นเหตุก่อภัย เพราะเป็นผู้ละราคะซึ่งเป็นเหตุก่อภัยเสียได้...
เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุก่อภัย เขาจึงมองเห็นความปลอดโปร่งในที่
ทั้งปวง คือ มองเห็นความปลอดภัยในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีเสนียดจัญไรในที่
ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปัทวะในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปสรรคในที่ทั้งปวง
มองเห็นความไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง รวมความว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่
ทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
อภิสังขารไร ๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง
เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร
ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง
[189] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน
ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย
มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง

ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
คำว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่า
เลย อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ผู้ก้าวล่วง
กิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี
มุนีย่อมไม่กล่าวถึง คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า "เราเลิศกว่าเขา
เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา" รวมความว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่
เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย
คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ อธิบายว่า
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :533 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ
สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
มุนีนั้น เป็นผู้สงบ
คำว่า คลายความตระหนี่ อธิบายว่า มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ (1) อาวาส-
มัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่
ความตระหนี่นี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า คลายความตระหนี่
คือ ปราศจากความตระหนี่ สละความตระหนี่ คายความตระหนี่ ปล่อยความตระหนี่
ละความตระหนี่ สลัดทิ้งความตระหนี่ รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่
คำว่า ไม่ยึดถือ ในคำว่า ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ยึดถือ คือ
ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร...
วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา
ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป
ไม่ทำให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งวัฏฏะ รวมความว่า ไม่ยึดถือ
คำว่า ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งรูป คือ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความ
ไม่มีอีก ซึ่งเวทนา... สัญญา...สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ...
ภพ... สงสาร... วัฏฏะ รวมความว่า ไม่สลัดทิ้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ... คำว่า พระผู้มี-
พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า
มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน
ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย
มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง1
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15 จบ

เชิงอรรถ :
1 ขุ. สุ. 25/961/520

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :534 }