เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา
คำว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ อธิบายว่า
ความไม่ริษยา เป็นอย่างไร
คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมอิจฉา ชิงชัง ผูกริษยาในลาภ
สักการะ การทำความเคารพ การนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของผู้อื่น ความ
ริษยา การทำความริษยา ความอิจฉา กิริยาที่อิจฉา ภาวะที่อิจฉา ความเกลียดชัง
กิริยาที่เกลียดชัง ภาวะที่เกลียดชัง เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความริษยา
ความริษยานี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ริษยา
คำว่า ไม่ติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด
ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ความติดใจนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ติดใจ
เขาไม่ติดในรูป... ไม่ติดใจ คือ ไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย
ความติดใจแล้ว ปราศจากความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว
ปล่อยวางความติดใจแล้ว ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจแล้ว เป็นผู้คลาย
ความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยวางราคะ
แล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะได้แล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ

ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว
คำว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า ตัณหาตรัส
เรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล
คือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความหวั่นไหวนี้ บุคคลใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล
นั้นตรัสเรียกว่า ไม่หวั่นไหว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :530 }