เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
เป็นเวลานานหนอ
พวกเราจึงได้พบภิกษุผู้เป็นพราหมณ์
ผู้ดับกิเลส ไม่ยินดี ไม่มีทุกข์
ข้ามตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในโลก1
รวมความว่า ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป
ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง
และผู้ใดไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา
ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก
[186] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา
หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด
ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของ ๆ เราไม่มี
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น
ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ อธิบายว่า ความถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจเชื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไร ๆ ว่า
"สิ่งนี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของคนอื่น" ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่
พระอรหันตขีณาสพใด ได้แก่ กิเลสเครื่องกังวลนั้นพระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว
ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด
อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/99/64

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :525 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ มิใช่ของพวกเธอ
ทั้งมิใช่ของคนอื่น ภิกษุทั้งหลาย กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า
เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมนสิการ
ปฏิจจสมุปบาทอย่างดี โดยแยบคายในกายนั้นว่า "เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป
สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย
วิญญาณจึงมี... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้นมีได้ด้วยประการอย่างนี้
เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการอย่างนี้" รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา
หรือสิ่งนี้ของคนอื่นย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า
เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงถอนความตามเห็นว่ามีตัวตนเสีย
เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลพิจารณาโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น1
รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด
อย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละ
สิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของ
พวกเธอ เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสียเถิด รูปที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน เวทนา... สัญญา... สังขาร...
วิญญาณมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณที่พวกเธอ
ละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/1126/549, ขุ.จู. 30/88/188

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :526 }