เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ มุนีชื่อว่าเที่ยวไป อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในโลกโดยชอบ รวม
ความว่า มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ
คำว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความ
ใฝ่หา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความใฝ่หานี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นย่อมไม่
ใฝ่หาใคร ๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์
รวมความว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท
รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย
มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ
ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้
[183] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว
ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ
เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก

ว่าด้วยกาม 2 อย่าง
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว
ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด
ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :518 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม
(2) กิเลสกาม... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม
คำว่า เครื่องข้อง ได้แก่ เครื่องข้อง 7 อย่าง คือ

1. เครื่องข้องคือราคะ 2. เครื่องข้องคือโทสะ
3. เครื่องข้องคือโมหะ 4. เครื่องข้องคือมานะ
5. เครื่องข้องคือทิฏฐิ 6. เครื่องข้องคือกิเลส
7. เครื่องข้องคือทุจริต

คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า และเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลก อธิบายว่า ผู้ใด ข้ามได้แล้ว คือ
ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นได้แล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งกามและเครื่องข้องที่ละได้
ยาก คือ ประพฤติล่วงได้ยาก ก้าวข้ามได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก
ประพฤติล่วงได้ยากในโลกแล้ว รวมความว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้
ยากในโลกได้แล้ว
คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ อธิบายว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่
แปรผันไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไป ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า "ตาของเราแปรผันไป"
ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า
"หูของเรา... จมูกของเรา... ลิ้นของเรา... กายของเรา... รูปของเรา... เสียงของเรา...
กลิ่นของเรา... รสของเรา... โผฏฐัพพะของเรา... ตระกูลของเรา... หมู่คณะของเรา...
อาวาสของเรา... ลาภของเรา... ยศของเรา... สรรเสริญของเรา... ความสุขของเรา...
จีวรของเรา... บิณฑบาตของเรา... เสนาสนะของเรา... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ
เรา... มารดาของเรา... บิดาของเรา... พี่ชายน้องชายของเรา... พี่สาวน้องสาวของเรา...
บุตรของเรา... ธิดาของเรา... มิตรของเรา... อำมาตย์ของเรา... ญาติและผู้ร่วมสาย
โลหิตของเราแปรผันไป" รวมความว่า ไม่เศร้าโศก
คำว่า ไม่ละโมบ ได้แก่ ไม่ละโมบ คือ ไม่มุ่งหวัง ไม่เข้าไปเพ่ง ไม่เพ่งถึง
ไม่เพ่งเล็งถึง อีกนัยหนึ่ง ผู้นั้น ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่ต้องเข้าถึงกำเนิด
จึงชื่อว่าไม่ละโมบ รวมความว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :519 }