เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ มุนีชื่อว่าเที่ยวไป อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในโลกโดยชอบ รวม
ความว่า มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ
คำว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความ
ใฝ่หา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความใฝ่หานี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ
ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นย่อมไม่
ใฝ่หาใคร ๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์
รวมความว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท
รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย
มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ
ย่อมไม่ใฝ่หาใคร ๆ ในโลกนี้
[183] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว
ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ
เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก

ว่าด้วยกาม 2 อย่าง
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว
ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด
ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :518 }