เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ได้ยาก ล่วงเลยไปได้ยาก รวมความว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก
[181] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก
มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ
คำว่า มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ อธิบายว่า ไม่ก้าวล่วงวาจาสัจ ไม่ก้าวล่วง
สัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงอริยมรรคมีองค์ 8
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี1 รวมความว่า มุนีไม่
ก้าวล่วงสัจจะ

ว่าด้วยอมตนิพพานตรัสเรียกว่าบก
คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า บก
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7
ประการได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า
เป็นพราหมณ์2
คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก
คือดำรงอยู่บนเกาะ ดำรงอยู่ในที่ป้องกัน ดำรงอยู่ในที่หลีกเร้น ดำรงอยู่ในที่พึ่ง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 14/68-71
2 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :515 }