เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
[180] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก

ว่าด้วยตัณหาตรัสเรียกว่าห้วงน้ำใหญ่
คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ห้วงน้ำใหญ่ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า เราเรียก คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความติดใจว่า
"เป็นห้วงน้ำใหญ่" รวมความว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความโลดแล่น คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า เรียก คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความโลดแล่นว่า
"เป็นความปรารถนา" รวมความว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
คำว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
อารมณ์ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก อธิบายว่า เปือกตมคือ
กาม ได้แก่ หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความกังวลคือกาม เป็นสภาวะ
ที่ลุล่วงไปได้ยาก คือ ก้าวพ้นไปได้ยาก ข้ามไปได้ยาก ข้ามพ้นไปได้ยาก ก้าวล่วงไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :514 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ได้ยาก ล่วงเลยไปได้ยาก รวมความว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก
[181] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก
มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ
คำว่า มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ อธิบายว่า ไม่ก้าวล่วงวาจาสัจ ไม่ก้าวล่วง
สัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงอริยมรรคมีองค์ 8
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี1 รวมความว่า มุนีไม่
ก้าวล่วงสัจจะ

ว่าด้วยอมตนิพพานตรัสเรียกว่าบก
คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า บก
ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา
เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท
คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม 7
ประการได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า
เป็นพราหมณ์2
คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก
คือดำรงอยู่บนเกาะ ดำรงอยู่ในที่ป้องกัน ดำรงอยู่ในที่หลีกเร้น ดำรงอยู่ในที่พึ่ง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 14/68-71
2 ดูรายละเอียดข้อ 25/104-105

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :515 }