เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก อธิบายว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป
คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก คือ ไม่พึงลำบาก
ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงคร่ำครวญ ไม่พึงตีอกพร่ำเพ้อ ไม่พึงถึงความหลงใหล ได้แก่
เมื่อตาเสื่อมไป คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป
เมื่อหูเสื่อมไป คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป
เมื่อจมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ตระกูล...
หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร... บิณฑบาต... เสนาสนะ...
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... ก็ไม่พึงเศร้าโศก คือ ไม่พึงลำบาก ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึง
คร่ำครวญ ไม่พึงตีอกพร่ำเพ้อ ไม่พึงถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อสังขารเสื่อม
ไปก็ไม่พึงเศร้าโศก

ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
คำว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือ
โลภะ
เพราะเหตุไร ตัณหา จึงตรัสเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม
เกี่ยวข้อง คือ เกี่ยวเกาะ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ย่อมเกี่ยวข้อง คือ เกี่ยวเกาะ ถือ
ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ...
ภพ... สงสาร... วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงตรัสเรียกว่า
กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
คำว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง อธิบายว่า ไม่พึงติดอยู่กับตัณหา
คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหา ได้แก่ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหา มีใจเป็นอิสระ(จาก
กิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
นรชนไม่พึงยินดีสังขารเก่า
ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่
เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก
ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :513 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
[180] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก

ว่าด้วยตัณหาตรัสเรียกว่าห้วงน้ำใหญ่
คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ห้วงน้ำใหญ่ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า เราเรียก คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความติดใจว่า
"เป็นห้วงน้ำใหญ่" รวมความว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่
คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
ความโลดแล่น คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า เรียก คือ บอก
แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความโลดแล่นว่า
"เป็นความปรารถนา" รวมความว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา
คำว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า
อารมณ์ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว
คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก อธิบายว่า เปือกตมคือ
กาม ได้แก่ หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความกังวลคือกาม เป็นสภาวะ
ที่ลุล่วงไปได้ยาก คือ ก้าวพ้นไปได้ยาก ข้ามไปได้ยาก ข้ามพ้นไปได้ยาก ก้าวล่วงไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :514 }