เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ความถือตัว 9 นัย คือ
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
2. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
3. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
4. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
5. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา
6. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
7. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
8. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
9. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
ความถือตัว 10 นัย คือ คนบางคนในโลกนี้
1. เกิดความถือตัวเพราะชาติ 2. เกิดความถือตัวเพราะโคตร...
(10) ... หรือเกิดความถือตัว เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว1
ความถือตัว กริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น
ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว
คำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว อธิบายว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัวด้วย
ปริญญา 3 คือ
1. ญาตปริญญา
2. ตีรณปริญญา
3. ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นรชนรู้จักความถือตัว คือ รู้เห็นว่า นี้ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิต
ใฝ่สูง นี้ความถือตัว 2 นัย คือ (1) การยกตน (2) การข่มผู้อื่น ... นี้ ความถือตัว
10 นัย คนบางคนในโลกนี้ (1) เกิดความถือตัวเพราะชาติ (2) เกิดความถือตัว

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 21/94-97

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :510 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
เพราะโคตร... (10) ... หรือเกิดความถือตัวเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว นี้ชื่อว่า
ญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นรชนทำความถือตัวที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้วพิจารณาความถือตัวโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นรชนครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือตัว นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
คำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว ได้แก่ พึงกำหนดรู้ความถือตัวด้วยปริญญา 3
เหล่านี้ รวมความว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว
คำว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน อธิบายว่า
ความประพฤติผลุนผลัน เป็นอย่างไร
คือ ความประพฤติด้วยอำนาจราคะของบุคคลผู้กำหนัด ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจโทสะของบุคคลผู้ขัดเคือง ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจโมหะของบุคคลผู้หลง ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจความถือตัวของบุคคลผู้ยึดติด ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดมั่นทิฏฐิ ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจอุทธัจจะของบุคคลผู้ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจวิจิกิจฉาของบุคคลผู้ลังเล ชื่อว่าความประพฤติ
ผลุนผลัน
ความประพฤติด้วยอำนาจอนุสัยของบุคคลผู้ตกไปในพลังกิเลส ชื่อว่าความ
ประพฤติผลุนผลัน นี้ชื่อว่าความประพฤติผลุนผลัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :511 }