เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง อธิบายว่า
พึงประกอบด้วยวาจาสัจ คือ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์
8 รวมความว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ
คำว่า ไม่คะนอง ได้แก่ ความคะนอง 3 อย่าง คือ
1. ความคะนองทางกาย 2. ความคะนองทางวาจา
3. ความคะนองทางใจ... นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ1
ความคะนอง 3 อย่างเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว
ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่
คะนอง รวมความว่า มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง

ว่าด้วยความเป็นผู้หลอกลวง
คำว่า ไม่มีความหลอกลวง ปราศจากวาจาส่อเสียด อธิบายว่า ความ
ประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง
คนบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตั้งความปรารถนา
ชั่วทราม เพราะการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย"
ดำริว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย" กล่าววาจาด้วยคิดว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย"
พยายามทางกายด้วยคิดว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย"
ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความลวง
ความล่อลวง การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น
การปิด การปกปิด การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำความ
ชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง
ความหลอกลวงนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว
ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีความ
หลอกลวง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 85/254-255

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :502 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า วาจาส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคน
ในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด... บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์
ให้เขาแตกกัน วาจาส่อเสียดนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ปราศจาก
วาจาส่อเสียด คือ หมดวาจาส่อเสียดแล้ว รวมความว่า ไม่มีความหลอกลวง
ปราศจากวาจาส่อเสียด
คำว่า ไม่โกรธ ในคำว่า มุนี...ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่วและความ
หวงแหนได้แล้ว อธิบายว่า กล่าวไว้แล้วแล อนึ่ง ควรกล่าวถึงความโกรธก่อน
ความโกรธย่อมเกิดได้เพราะเหตุ 10 อย่าง1... ความโกรธนั้นผู้ใดละได้แล้ว
ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือ
ญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ
บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว
บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธได้แล้ว
บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว
คำว่า ความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ
มัจฉริยะ 5 อย่าง คือ (1) อาวาสมัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า
ความตระหนี่2
คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด...
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี
คำว่า มุนี...ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่วและความหวงแหนได้แล้ว
อธิบายว่า มุนี ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ก้าวล่วง
ด้วยดี ล่วงเลยแล้วซึ่งความโลภอันชั่วและความหวงแหนได้แล้ว รวมความว่า

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 85/252
2 ดูรายละเอียดข้อ 44/155

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :503 }