เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศรแทง
คำว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง อธิบายว่า สัตว์ถูก
ลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์
บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง
ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง
ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป
อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น
คาค้างอยู่ เมื่อจะแสวงหาโภคทรัพย์ ก็แล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน
ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความ
หิวกระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ
เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิรัฐ วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ
ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ
โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดินทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลาน
ไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดินทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป
ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทาง
อย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตามลำหวาย เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และ
โทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เขาเมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้อง
เสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า
"อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึงริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึง
ไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาทที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป" เมื่อรักษา
คุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อมค่าลง เขาก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัส
ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง
เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง
สัตว์ถูกลูกศรคือโทสะ... ลูกศรคือโมหะ... ลูกศรคือมานะปักติด คือ เสียบแทง
ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา
ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :495 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์
ถูกลูกศรคือมานะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป
วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง
สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่
ก็ประพฤติเปลือยกาย ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญ
ให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุดรับอาหาร ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำ
เจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปาก
ภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อม
สาก ไม่รับอาหารของคน 2 คนที่กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับ
อาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับ
อาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวัน
ไต่ตอมอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง
รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน 2 หลัง
ยังชีพด้วยข้าว 2 คำ... รับอาหารในเรือน 7 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 7 คำ ยังชีพ
ด้วยอาหารในถาดน้อย 1 ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 2 ใบ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย 7 ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 1 วัน... กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน 7 วัน ถือ1 การบริโภคอาหาร 15 วันต่อ 1 มื้อ สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิ
ปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ
ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น
คาค้างอยู่ ก็กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็นอาหาร
กินกำยานเป็นอาหาร กินงาเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินโคมัย(มูลโค)เป็น
อาหาร กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่ม
ผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้
นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง2 นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง

เชิงอรรถ :
1 คำว่า ถือ ในที่นี้ แปลจากบาลีว่า อนุโยคมนุยุตฺต ซึ่งหมายถึงการยึดมั่นในวัตรปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
2 ผ้าคากรอง หมายถึงผ้าที่ถักทอด้วยหญ้าคา เป็นผ้าที่พวกฤๅษีใช้นุ่งห่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :496 }