เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ1 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ2 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ3 10
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ
ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ
ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง
ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่า
เป็นจริงเห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าลูกศรคือทิฏฐิ
ลูกศรคือโสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน
ความเศร้าโศกมากภายใน ความเร่าร้อนภายใน ความเร่าร้อนมากภายใน ความ
หม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง
ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโรคกระทบบ้าง
ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอก
จากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง นี้ชื่อว่า
ลูกศรคือโสกะ
ลูกศรคือความสงสัย เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความสงสัยในความ
ดับทุกข์ ความสงสัยในปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ความสงสัยในส่วน
เบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง
ปลาย ความสงสัยในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้
เป็นปัจจัย ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเห็นเป็น 2 ฝ่าย 2 ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความไม่ตกลงใจ
ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดใน
ใจเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือความสงสัย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59
2 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59
3 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :494 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศรแทง
คำว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง อธิบายว่า สัตว์ถูก
ลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติ
ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์
บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง
ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง
ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป
อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น
คาค้างอยู่ เมื่อจะแสวงหาโภคทรัพย์ ก็แล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน
ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความ
หิวกระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ
เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิรัฐ วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ
ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ
โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดินทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลาน
ไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดินทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป
ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทาง
อย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตามลำหวาย เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และ
โทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เขาเมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้อง
เสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า
"อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึงริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึง
ไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาทที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป" เมื่อรักษา
คุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อมค่าลง เขาก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัส
ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง
เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง
สัตว์ถูกลูกศรคือโทสะ... ลูกศรคือโมหะ... ลูกศรคือมานะปักติด คือ เสียบแทง
ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา
ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :495 }