เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ลูกศรคือราคะ เป็นอย่างไร
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต...
อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ชื่อว่าลูกศรคือราคะ
ลูกศรคือโทสะ เป็นอย่างไร
คือ ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า "ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา... ผู้นี้กำลัง
ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา... ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา"... ความดุร้าย
ความปลูกน้ำตา (ความเพาะวาจาชั่ว) ความไม่เบิกบานแห่งจิต นี้ชื่อว่าลูกศรคือโทสะ
ลูกศรคือโมหะ เป็นอย่างไร
คือ ความไม่รู้ในทุกข์... ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วน
เบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย
ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้
เป็นปัจจัย ความไม่เห็น ไม่ตรัสรู้ ไม่ตรัสรู้ตาม ไม่ตรัสรู้ชอบ ไม่แทงตลอด ไม่ถือ
เหตุด้วยดี ไม่หยั่งลงถึงเหตุ ไม่เพ่งพินิจ ไม่พิจารณา ไม่ทำให้ประจักษ์ ไม่ผ่องแผ้ว
ความเป็นคนโง่ ความหลง ลุ่มหลง หลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา
อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะเห็นปานนี้
นี้ชื่อว่าลูกศรคือโมหะ
ลูกศรคือมานะ เป็นอย่างไร
คือ ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา ความถือตัวว่าเราเสมอเขา ความถือตัวว่า
เราด้อยกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ
ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจ
ธงเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือมานะ
ลูกศรคือทิฏฐิ เป็นอย่างไร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :493 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ1 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ2 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ3 10
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ
ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ
ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง
ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่า
เป็นจริงเห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าลูกศรคือทิฏฐิ
ลูกศรคือโสกะ เป็นอย่างไร
คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน
ความเศร้าโศกมากภายใน ความเร่าร้อนภายใน ความเร่าร้อนมากภายใน ความ
หม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง
ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโรคกระทบบ้าง
ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอก
จากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง นี้ชื่อว่า
ลูกศรคือโสกะ
ลูกศรคือความสงสัย เป็นอย่างไร
คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความสงสัยในความ
ดับทุกข์ ความสงสัยในปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ความสงสัยในส่วน
เบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง
ปลาย ความสงสัยในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้
เป็นปัจจัย ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล
ความเห็นเป็น 2 ฝ่าย 2 ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความไม่ตกลงใจ
ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดใน
ใจเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือความสงสัย

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59
2 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59
3 ดูเชิงอรรถข้อ 12/59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :494 }