เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
คำว่า เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน อธิบายว่า เมื่อต้องการ คือ ยินดี
ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังภพ คือ ที่ต้านทาน ที่ปกป้อง ที่พึ่ง ที่ดำเนินไป ที่ไปสู่
จุดหมายสำหรับตน รวมความว่า เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน
คำว่า ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ อธิบายว่า มองเห็นแต่ฐานะที่
ถูกครอบงำเท่านั้น ได้เห็นแต่ฐานะที่ถูกครอบงำ คือ ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวง
ถูกชราครอบงำ ความไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ
ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ ความ
สรรเสริญทั้งปวงถูกการนินทาครอบงำ ความสุขทั้งปวงถูกความทุกข์ครอบงำ
ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข
และทุกข์ ธรรมเหล่านี้ ในหมู่มนุษย์ล้วนไม่เที่ยง ไม่มั่นคง
มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา1
รวมความว่า ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร
สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว
เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน
ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ
[173] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะเห็นสัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น
ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา
อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรที่เห็นได้ยาก
อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้แล้ว
คำว่า มีที่สิ้นสุด ในคำว่า สัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น อธิบายว่า ชราทำให้
ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงหมดสิ้นไป พยาธิทำให้ความไม่มีโรคทั้งปวงหมดสิ้นไป

เชิงอรรถ :
1 ขุ.ชา. 27/114/110

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :490 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
มรณะทำให้ชีวิตทั้งปวงหมดสิ้นไป ความเสื่อมลาภทำให้ลาภทั้งปวงหมดสิ้นไป ความ
เสื่อมยศทำให้ยศทั้งปวงหมดสิ้นไป การนินทาทำให้ความสรรเสริญทั้งปวงหมดสิ้นไป
ความทุกข์ทำให้ความสุขทั้งปวงหมดสิ้นไป รวมความว่า มีที่สิ้นสุด
คำว่า และถูกสกัดกั้น อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว
ถูกชราขัดขวาง ผู้ต้องการความไม่มีโรคถูกพยาธิขัดขวาง ผู้ปรารถนาเพื่อมีชีวิตอยู่
ถูกมรณะขัดขวาง ผู้ปรารถนาลาภถูกความเสื่อมลาภขัดขวาง ผู้ปรารถนายศถูก
ความเสื่อมยศขัดขวาง ผู้ปรารถนาความสรรเสริญถูกการนินทาขัดขวาง ผู้ปรารถนา
ความสุขถูกความทุกข์สกัดกั้น คือ ขัดขวาง กระทบ กระทบกระทั่ง ทำลายล้างผลาญ
รวมความว่า สัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น
คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า เพราะเห็น... ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่
เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
รวมความว่า เพราะเห็น
คำว่า ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่ ความไม่ยินดี คือ ความไม่ใยดี
ความระอา ความเบื่อ ความหน่าย ได้มีแล้ว รวมความว่า เพราะเห็น... ความไม่
ยินดีจึงมีแก่เรา
คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว
เป็นคำเชื่อมบท... คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ใน... เหล่านี้ ได้แก่ ในสัตว์ทั้งหลาย
คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร 7 ชนิด คือ

1. ลูกศรคือราคะ 2. ลูกศรคือโทสะ
3. ลูกศรคือโมหะ 4. ลูกศรคือมานะ
5. ลูกศรคือทิฏฐิ 6. ลูกศรคือโสกะ
7. ลูกศรคือความสงสัย

คำว่า ได้เห็น ได้แก่ ได้เห็น คือ ได้มองเห็น ได้แลเห็น ได้แทงตลอด
รวมความว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :491 }