เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เธอ
รู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย (เหตุเกิด
ทุกข์)" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์)" เธอรู้ตามความ
เป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์)"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "เหล่านี้อาสวะ" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสว-
สมุทัย" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธ" เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า
"นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา" นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
สิกขา 3 เหล่านี้ เมื่อสัตว์เกิดนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วยศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา
ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรม
ที่ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าพึงศึกษา คือ
พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :49 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ในที่นี้ ได้แก่ ในความเห็นนี้ ความถูกใจนี้ ความพอใจนี้ ความ
ยึดถือนี้ ธรรมนี้ วินัยนี้ ธรรมวินัยนี้ ปาพจน์นี้ พรหมจรรย์นี้ สัตถุศาสน์นี้
อัตภาพนี้ มนุษยโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ในที่นี้
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ คือ นรชน ... มนุษย์1 รวมความว่า เพราะฉะนั้น
สัตว์เกิดพึงศึกษาในที่นี้
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า พึงรู้จักกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า
เป็นกรรมที่ผิด ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือ
โดยประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ เป็นคำกล่าวรวม ๆ ไว้ทั้งหมด
คำว่า พึงรู้จัก ... ว่า เป็นกรรมที่ผิด อธิบายว่า พึงรู้ คือ พึงรู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่ผิด ปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา
พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 เจตนา ความ
ปรารถนา ความตั้งใจที่ผิดว่าเป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก ... อายตนโลก รวมความว่า พึงรู้จักกรรม
อย่างใดอย่างหนึ่งในโลกว่า เป็นกรรมที่ผิด
คำว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกรรมที่ผิดนั้น อธิบายว่า ไม่พึง
ประพฤติ คือ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ไม่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ ไม่พึง
สมาทานประพฤติผิด เพราะเหตุแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ สังขารทั้งหลาย กามคุณ 5 นิวรณ์ 5 เจตนา
ความปรารถนา ความตั้งใจที่ผิด รวมความว่า ไม่พึงประพฤติผิด เพราะเหตุแห่ง
กรรมที่ผิดนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :50 }