เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิวิบัติ เหมือนฝูงปลาอยู่ในน้ำน้อย คือ มีน้ำนิดหน่อย น้ำ
แห้งไปถูกกา นกตระกรุม หรือนกยางโฉบลากขึ้นมาแทะกิน ก็ดิ้นรน คือ กระเสือก
กระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น รวมความว่า
เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย
คำว่า สัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้าย ทำร้ายตอบ
เคือง เคืองตอบ ปองร้าย ปองร้ายตอบกันและกัน คือ พระราชาทรงวิวาทกับ
พระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดี
วิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาท
กับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาว
น้องสาววิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้
พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้นถึง
การทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาทกัน ในการทำร้ายกันและกันนั้น ก็ทำร้ายกันและกัน
ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะ
ทำร้ายกันนั้น ชนเหล่านั้นก็เข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง รวมความว่า
สัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน
คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า เพราะเห็น... ภัยจึงปรากฏแก่เรา อธิบายว่า
เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง
ภัย คือ ความบีบคั้น ความกระทบกระทั่ง อันตราย อุปสรรค จึงปรากฏ รวมความว่า
เพราะเห็น...ภัยจึงปรากฏแก่เรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่
เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย
เพราะเห็นสัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน ภัยจึงปรากฏแก่เรา
[172] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร
สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว
เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน
ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :487 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยโลก
คำว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร อธิบายว่า โลกนรก โลกในกำเนิดเดรัจฉาน
โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า
พรหมโลก เทวโลก นี้ตรัสเรียกว่า โลก
โลกนรกไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่น
สารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน
โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย
ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก... ขันธโลก...
ธาตุโลก... อายตนโลก... โลกนี้... โลกหน้า... พรหมโลก... เทวโลก... ไม่มีแก่นสาร คือ
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ
แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน
ไปเป็นธรรมดา
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน ... โลกในเปตวิสัย ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก
.... ธาตุโลก ... อายตนโลก ... โลกนี้ ... โลกหน้า ... พรหมโลก ... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร
คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ
แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน
ไปเป็นธรรมดา
ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น
ไม้มะเดื่อ... ไม้ทองหลาง... ต้นหงอนไก่... ฟองน้ำ... ต่อมน้ำ... พยับแดด... ต้นกล้วย...
เงา ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ฉันใด โลกนรก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร
ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข
โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน
โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :488 }