เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก
มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก
มีกองไฟลุกขึ้นจากด้านเหนือ
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้
มีกองไฟลุกขึ้นจากด้านใต้
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ
กองไฟที่น่าสะพึงกลัว ผุดขึ้นมาจากเบื้องล่าง
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลุกท่วม) ติดหลังคา
กองไฟน่าสะพึงกลัว ลุกขึ้นมาจากหลังคา
แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลามลง) กระทบถึงพื้น
อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่างข้างบน ด้านข้าง
ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ
สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ
เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว
มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย
ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น
เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด
ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย
สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก
จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ
จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางด้านใต้
วิ่งไปยังทิศใด ๆ ประตูนั้น ๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้น
มีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหา ทางออกอยู่เสมอ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :483 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น
เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะสัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วร้ายไว้มาก
ยังให้ผลไม่หมดสิ้น1
ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัว เกิด คือ
เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน ทุกข์ของสัตว์นรกก็ดี ทุกข์ของ
สัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดรัจฉานก็ดี ทุกข์ของสัตว์ที่เกิดในเปตวิสัยก็ดี ทุกข์ของมนุษย์ก็ดี
เกิดมาจากอะไร คือ เกิดขึ้นมาจากไหน บังเกิดมาจากไหน บังเกิดขึ้นมาจากไหน
ปรากฏมาจากไหน
ทุกข์เหล่านั้น เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน
รวมความว่า ความกลัวเกิดจากโทษของตน
คำว่า คน ในคำว่า เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน ได้แก่ กษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ อธิบายว่า เธอทั้งหลาย
จงมองดู คือ จงแลดู ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูคนที่มุ่งร้ายกัน คือ คนที่ทะเลาะกัน
คนที่ทำร้ายกัน คนที่ทำร้ายตอบกัน คนที่ขุ่นเคืองกัน คนที่ขุ่นเคืองตอบกัน คนที่
อาฆาตกัน คนที่อาฆาตตอบกัน รวมความว่า เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน
คำว่า เราจักกล่าวความสังเวช อธิบายว่า ความสังเวช คือ ความสะดุ้ง
ความหวาดเสียว ความกลัว ความบีบคั้น ความกระทบ ความเบียดเบียน ความ
ขัดข้อง
คำว่า จักกล่าว ได้แก่ จักกล่าว คือ จักบอก แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราจักกล่าวความสังเวช
คำว่า ตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว อธิบายว่า ตามที่เราสังเวช คือ สะดุ้ง
ถึงความสังเวชมาแล้ว ด้วยตนเองแล รวมความว่า ตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. 30/122/247-249

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :484 }