เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว อธิบายว่า รู้ คือ ทราบ
เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งความดับราคะว่า เป็นความสงบ...
ความดับโทสะ ... ความดับโมหะ ... ความดับอกุสลาภิสังขารทุกประเภทว่า เป็น
ความสงบแล้ว รวมความว่า รู้ความดับว่า เป็นความสงบแล้ว
คำว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ได้แก่ ในศาสนาของ
พระโคดม คือ ในศาสนาของพระพุทธเจ้า ในศาสนาของพระชินเจ้า ในศาสนาของ
พระตถาคต ในศาสนาของพระผู้เป็นดุจเทพ ในศาสนาของพระอรหันต์
คำว่า ไม่พึงประมาท อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ ทำไม่หยุด
ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมี
เรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า "เราพึงทำสีลขันธ์
ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร"... ว่า "เราพึงทำสมาธิขันธ์... ปัญญาขันธ์...
วิมุตติขันธ์... วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร"
คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง
ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร
แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า "เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่
ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้
แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้งโดยอุบายอย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศล
ธรรมทั้งหลาย รวมความว่า ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุรู้ธรรมนี้แล้วเลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติ
ศึกษาทุกเมื่อ รู้ความดับกิเลสว่า เป็นความสงบแล้ว
ไม่พึงประมาทในศาสนาของพระโคดม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :477 }