เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
ซึ่งธรรม คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การ
ปฏิบัติไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติเอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพานและปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน
รวมความว่า รู้ธรรมนี้แล้ว อย่างนี้บ้าง
คำว่า เลือกสรรอยู่ ในคำว่า ภิกษุ... เลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติศึกษา
ทุกเมื่อ อธิบายว่า เลือกสรรอยู่ คือ เลือกเฟ้น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งอยู่ ได้แก่ เลือกสรรอยู่ คือ เลือกเฟ้น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้
กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้งอยู่ว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น
เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" รวมความว่า ภิกษุ...
เลือกสรรอยู่
คำว่า ทุกเมื่อ ได้แก่ ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง... ปัจฉิมวัย
คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่ มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ (1) ชื่อว่ามีสติ เมื่อ
เจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย... ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า เป็น
ผู้มีสติ
คำว่า ศึกษา ได้แก่ สิกขา 3 คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
สิกขา 3 เหล่านี้ เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา... ชื่อว่าพึงศึกษา คือพึง
ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า ภิกษุ...
เลือกสรรอยู่ พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :476 }