เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทสออ
ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัส
เรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท... พูดเท็จทั้งที่รู้... เพราะเหตุคือ
เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 4 อย่าง... ด้วยอาการ 5 อย่าง...
ด้วยอาการ 6 อย่าง... ด้วยอาการ 7 อย่าง ...
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว
4. ปิดบังทิฏฐิ
5. ปิดบังความพอใจ
6. ปิดบังความชอบใจ
7. ปิดบังความสำคัญ
8. ปิดบังความจริง
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่างเหล่านี้
คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ไม่พึงดำเนินไป ไม่พึง
มุ่งมั่น คือ ไม่พึงพาไป ไม่พึงนำ(ตน) เข้าไปในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ พึงละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นคนพูดเท็จ คือ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นคนพูดเท็จ มีใจ
เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :471 }