เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
มิใช่เป็นผู้ได้ตติยฌาน... มิใช่เป็นผู้ได้จตุตถฌาน... มิใช่เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตน-
สมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้วิญญานัญจายตนสมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตน-
สมาบัติ... มิใช่เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็มีจิตวางตัวเช่นเดียวกับ
ภิกษุผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ
คำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง อธิบายว่า ภิกษุไม่พึงศึกษา คือ ไม่พึงประพฤติ
ไม่พึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงสมาทานประพฤติความเป็นผู้คะนอง
ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้คะนอง คือ
เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้คะนอง
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง
คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง อธิบายว่า ถ้อยคำแก่งแย่ง เป็นอย่างไร
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้กระทำถ้อยคำเห็นปานนี้ว่า "ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้...
หรือหากท่านสามารถก็จงแก้ไขเถิด"
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "โมคคัลลานะ เมื่อมีถ้อยคำแก่งแย่ง
ก็พึงหวังการต้องพูดกันมาก เมื่อมีการพูดกันมาก ก็พึงหวังความฟุ้งซ่าน คนฟุ้งซ่าน
ก็มีความไม่สำรวม จิตของผู้ไม่สำรวมก็ห่างไกลจากสมาธิ"1
คำว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง อธิบายว่า ไม่พึงกล่าว คือ ไม่พึงพูด
ไม่พึงบอก ไม่พึงแสดง ไม่พึงชี้แจงถ้อยคำแก่งแย่ง ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งถ้อยคำแก่งแย่ง คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำแก่งแย่ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่
รวมความว่า ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นคนมักอวด ไม่พึงกล่าววาจามุ่งได้
ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าวถ้อยคำแก่งแย่ง
[166] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ
เมื่อรู้ตัวก็ไม่พึงทำความโอ้อวด และไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่น
ด้วยความเป็นอยู่ ด้วยปัญญา ด้วยศีลและวัตร

เชิงอรรถ :
1 องฺ.สตฺตก. 23/61/72

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :470 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทสออ
ว่าด้วยมุสาวาท
คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาท ตรัส
เรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท... พูดเท็จทั้งที่รู้... เพราะเหตุคือ
เห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาท มีได้ด้วยอาการ 3 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 3 อย่างเหล่านี้
อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 4 อย่าง... ด้วยอาการ 5 อย่าง...
ด้วยอาการ 6 อย่าง... ด้วยอาการ 7 อย่าง ...
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่าง คือ
1. ก่อนพูดเธอก็รู้ว่า เราจักพูดเท็จ
2. กำลังพูดก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ
3. พูดแล้วก็รู้ว่า เราพูดเท็จแล้ว
4. ปิดบังทิฏฐิ
5. ปิดบังความพอใจ
6. ปิดบังความชอบใจ
7. ปิดบังความสำคัญ
8. ปิดบังความจริง
มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ 8 อย่างเหล่านี้
คำว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ ไม่พึงดำเนินไป ไม่พึง
มุ่งมั่น คือ ไม่พึงพาไป ไม่พึงนำ(ตน) เข้าไปในความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ พึงละ
บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นคนพูดเท็จ คือ พึงเป็นผู้งด
งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นคนพูดเท็จ มีใจ
เป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :471 }