เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความคะนอง 3 อย่าง
คำว่า ความเป็นผู้คะนอง ในคำว่า ไม่พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ได้แก่
ความคะนอง 3 อย่าง คือ
1. ความคะนองทางกาย 2. ความคะนองทางวาจา
3. ความคะนองทางใจ
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็แสดงความคะนองทางกาย
อยู่ในหมู่คณะ... อยู่ในศาลาโรงฉัน ... อยู่ในเรือนไฟ ... อยู่ที่ท่าน้ำ... กำลังเข้าสู่
ละแวกบ้าน... เข้าสู่ละแวกบ้านแล้ว ก็แสดงความคะนองทางกาย
ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่สงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยืนเบียด
เสียดภิกษุเถระบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะ
สูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่สงฆ์แสดง
ความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในหมู่คณะก็ไม่ทำความยำเกรง เมื่อภิกษุ
เถระไม่สวมรองเท้าเดินจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าเดินจงกรม เมื่อภิกษุเถระเดิน
จงกรมบนลานจงกรมต่ำ ก็เดินจงกรมบนลานจงกรมสูง เมื่อภิกษุเถระเดินจงกรม
บนพื้นดินก็เดินจงกรมบนลานจงกรม ยืนเบียดเสียดบ้าง นั่งเบียดเสียดบ้าง
ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง
แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในหมู่คณะแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉันแสดงความคะนองทางกาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อยู่ในศาลาโรงฉันก็ไม่ทำความยำเกรง
นั่งแทรกภิกษุเถระบ้าง นั่งกีดกันอาสนะภิกษุนวกะบ้าง ยืนเบียดเสียดบ้าง
นั่งเบียดเสียดบ้าง ยืนบังหน้าบ้าง นั่งบังหน้าบ้าง นั่งบนอาสนะสูงบ้าง นั่งคลุม
ศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง แกว่งแขนพูดบ้าง ภิกษุอยู่ในศาลาโรงฉัน แสดงความคะนอง
ทางกาย เป็นอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :467 }