เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวเพราะการนินทา
ได้รับการสรรเสริญแล้วก็ไม่พึงลำพองตน
พึงบรรเทาความโลภพร้อมทั้งความตระหนี่
ความโกรธและวาจาส่อเสียด
[164] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย
ไม่พึงก่อกิเลสเป็นเหตุว่าร้ายในที่ไหน ๆ
ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน และไม่พึงพูดเลียบเคียงกับคน
เพราะอยากได้ลาภ
คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า การซื้อขายที่ทรงห้ามไว้
ในวินัย ไม่ทรงประสงค์เอาในเนื้อความนี้
ภิกษุดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเมื่อทำความล่อลวง หรือปรารถนากำไร แลกเปลี่ยนบาตร จีวร
หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก 1 จำพวก ภิกษุชื่อว่าดำรงชีวิตในการ
ซื้อขาย เป็นอย่างนี้
ภิกษุไม่ดำรงชีวิตในการซื้อขาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเมื่อไม่ทำความล่อลวง หรือ ไม่ปรารถนากำไร ไม่แลกเปลี่ยนบาตร จีวร
หรือบริขารอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งกับสหธรรมิก 5 จำพวก1 ภิกษุชื่อว่าไม่ดำรงชีวิตใน
การซื้อขาย เป็นอย่างนี้
คำว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการซื้อขาย อธิบายว่า ไม่พึงดำรงชีวิต คือ ไม่พึง
ดำรงตนในการซื้อขาย ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก
ซึ่งการซื้อขาย พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง
กับการซื้อขาย มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงดำรงชีวิตในการ
ซื้อขาย

เชิงอรรถ :
1 สหธรรมิก 5 ได้แก่ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี (ขุ.ม.อ. 164/421)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :461 }