เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คน 2 คนก่อการทะเลาะกัน... คน 2 คนก่อการบาดหมางกัน... คน 2 คนก่อ
เรื่องอื้อฉาวกัน... คน 2 คนก่อการวิวาทกัน... คน 2 คนก่ออธิกรณ์กัน... คน 2
คนสนทนากัน... คน 2 คนเจรจากัน เรียกว่า คู่เจรจา ฉันใด ธรรมนั้นเป็น
ธรรมเนียมของคนคู่ ผู้กำหนัด กำหนัดนัก เปียกชุ่ม กลัดกลุ้มด้วยราคะ
ถูกราคะครอบงำจิตเสมอกันทั้ง 2 คน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า
เมถุนธรรม

ว่าด้วยการประดับตกแต่ง 2 อย่าง
คำว่า การประดับตกแต่ง ได้แก่ การประดับตกแต่ง 2 อย่าง คือ
1. การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ 2. การประดับตกแต่งของบรรพชิต
การประดับตกแต่งของคฤหัสถ์ เป็นอย่างไร
คือ การแต่งผม การแต่งหนวด การทัดดอกไม้ การประพรมเครื่องหอม การย้อมผิว การ
ใช้เครื่องประดับ การใช้เครื่องแต่งตัว การนุ่งผ้าสวยงาม การประดับข้อมือ
การโพกผ้าโพกศีรษะ การอบตัว การนวดตัว การอาบน้ำ การดัดตัว การส่องกระจก
การทาเปลือกตา การสวมพวงดอกไม้ การทาปาก การเจิมหน้า การผูกข้อมือ การ
เกล้าผม การใช้ไม้เท้า การใช้ทะนาน การใช้พระขรรค์ การใช้ร่ม การสวมรองเท้า
สวยงาม การติดกรอบหน้า การปักปิ่น การใช้พัด การนุ่งผ้าขาว การนุ่งผ้าชายยาว
นี้ชื่อว่าการประดับตกแต่งของคฤหัสถ์
การประดับตกแต่งของบรรพชิต เป็นอย่างไร
คือ การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่ง การ
ประดับประดา การเล่นสนุกในการประดับ ความเพลิดเพลินในการประดับ ความ
ปรารถนาการประดับ ความเป็นผู้ปรารถนาการประดับ กิริยาที่ประดับ ความเป็น
กิริยาที่ประดับร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ หรือบริขารอันเป็นภายนอก นี้ชื่อว่าการ
ประดับตกแต่งของบรรพชิต
คำว่า พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว การเล่น
เมถุนธรรม พร้อมทั้งการประดับตกแต่ง อธิบายว่า พึงละเว้น คือ บรรเทา ทำให้
หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเกียจคร้าน ความหลอกลวง เรื่องชวนหัว
การเล่น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :453 }