เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์... ไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6... ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
อาหาร... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ... ไม่หมั่นประกอบ
สติสัมปชัญญะ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4... ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4... ไม่เจริญ
อิทธิบาท 4... ไม่เจริญอินทรีย์ 5... ไม่เจริญพละ 5... ไม่เจริญโพชฌงค์ 7... ไม่
เจริญอริยมรรคมีองค์ 8... ไม่กำหนดรู้ทุกข์... ไม่ละสมุทัย... ไม่เจริญมรรค" ความ
คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราไม่ทำนิโรธให้ประจักษ์แจ้ง"
คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง อธิบายว่า พึงงดเว้น เว้นขาดจากความ
คะนอง คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความคะนอง ได้แก่
พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความคะนอง
มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส) อยู่ รวมความว่า พึงเว้นจากความคะนอง

ว่าด้วยความไม่ประมาท
คำว่า ไม่พึงประมาท อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ
ทำไม่หยุด ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ละความพอใจ ไม่ทอดธุระ ชื่อว่าไม่ประมาทใน
กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า "เราพึงทำ
สีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาสีลขันธ์
ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย... ว่า "เราพึงทำสมาธิขันธ์... ปัญญาขันธ์... วิมุตติขันธ์... วิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ โดยอุบายอย่างไร"... คือ ความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ
สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียรแรงกล้า ความตั้งใจ
ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า "เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้กำหนดรู้ พึงละ
กิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้งนิโรธที่ยังมิได้ทำ
ให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย รวมความ
ว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :449 }