เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง1 มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต
มีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน
ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง
ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญ
ในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความ
เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่
ทำมโนสุจริต... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต... เราทำ
แต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่
ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา... เราทำแต่
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงด
เว้นจากสัมผัปปลาปะ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท
ไม่ทำอัพยาบาท... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" ความคะนอง ความเดือด
ร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วเข้าไป
ยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดคืนและวัน (ขุ.ม.อ. 160/410)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :448 }