เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุประกอบด้วยความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุขภายในสังฆาราม มิใช่
เพราะเหตุแห่งประโยชน์ มิใช่เพราะเหตุแห่งการกระทำ แต่เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิตใจ
ไม่สงบ เดินจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง จากวิหารหนึ่งไปสู่อีกวิหารหนึ่ง จาก
เรือนหลังคาด้านเดียวไปสู่เรือนหลังคาด้านเดียวอีกแห่งหนึ่ง จากปราสาทหนึ่งไปสู่อีก
ปราสาทหนึ่ง จากเรือนโล้นหลังหนึ่งไปสู่เรือนโล้นอีกหลังหนึ่ง จากถ้ำหนึ่งไปสู่อีกถ้ำ
หนึ่ง จากที่หลีกเร้นแห่งหนึ่งไปสู่ที่หลีกเร้นอีกแห่งหนึ่ง จากกุฎีหนึ่งไปสู่อีกกุฎีหนึ่ง
จากเรือนยอดแห่งหนึ่งไปสู่เรือนยอดอีกแห่งหนึ่ง จากป้อมหนึ่งไปสู่อีกป้อมหนึ่ง
จากปะรำหนึ่งไปสู่อีกปะรำหนึ่ง จากเรือนที่พักแห่งหนึ่งไปสู่เรือนที่พักอีกแห่งหนึ่ง
จากโรงเก็บของแห่งหนึ่งไปสู่โรงเก็บของอีกแห่งหนึ่ง จากโรงฉันแห่งหนึ่งไปสู่โรงฉัน
อีกแห่งหนึ่ง จากมณฑลแห่งหนึ่งไปสู่มณฑลอีกแห่งหนึ่ง จากโคนต้นไม้แห่งหนึ่งไป
สู่โคนต้นไม้อีกแห่งหนึ่ง เดินไปที่ที่พวกภิกษุนั่งกันอยู่ เป็นที่ 2 ของภิกษุ 1 รูป เป็นที่
3 ของภิกษุ 2 รูป หรือเป็นที่ 4 ของภิกษุ 3 รูป ในที่นั้น ๆ พูดเรื่องเพ้อเจ้อมาก
มายในที่นั้น คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย
เรื่องการรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องยาน เรื่องที่นอน เรื่องระเบียบดอกไม้
เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมือง เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่อง
บุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด
เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
เป็นอย่างนี้บ้าง

ว่าด้วยเรื่องผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า พึงละ บรรเทา ทำให้หมด
สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด
ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข มีใจเป็น
อิสระ(จากกิเลส) อยู่ คือ ประพฤติ ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต
ดำเนินไป ยังมีชีวิตให้ดำเนินไป พึงเป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น
หมั่นประกอบความสงบแห่งจิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :447 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง1 มีฌาน เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิต
มีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน
ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
คำว่า ความคะนอง ในคำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง
ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร
ความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญ
ในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง ภาวะที่คะนอง ความ
เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะ
ไม่ทำ เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่กาย
ทุจริต ไม่ทำกายสุจริต... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต... เราทำแต่มโนทุจริต ไม่
ทำมโนสุจริต... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต... เราทำ
แต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร ไม่
ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา... เราทำแต่
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความงด
เว้นจากสัมผัปปลาปะ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยาบาท
ไม่ทำอัพยาบาท... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" ความคะนอง ความเดือด
ร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้

เชิงอรรถ :
1 เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ในที่นี้หมายถึง ภิกษุเรียนสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้วเข้าไป
ยังเรือนว่าง นั่งอยู่ตลอดคืนและวัน (ขุ.ม.อ. 160/410)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :448 }