เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุได้ข้าวก็ดี น้ำก็ดี ของขบเคี้ยวก็ดี ผ้าก็ดีแล้ว
ไม่ควรทำการสะสม เมื่อไม่ได้ข้าวเป็นต้นเหล่านั้นก็ไม่พึงสะดุ้ง
[160] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท
และพึงอยู่ในที่นั่งที่นอนที่มีเสียงน้อย

ว่าด้วยผู้มีฌาน
คำว่า พึงเป็นผู้มีฌาน ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่
ไม่สุข อธิบายว่า เป็นผู้มีฌาน ด้วยปฐมฌานบ้าง ด้วยทุติยฌานบ้าง ด้วยตติยฌาน
บ้าง ด้วยจตุตถฌานบ้าง ด้วยฌานที่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีวิตกและวิจารเป็นอารมณ์บ้าง
ด้วยฌานที่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยฌานที่
สหรคตด้วยปีติบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยความแช่มชื่นบ้าง ด้วยฌานที่สหรคต
ด้วยสุขบ้าง ด้วยฌานที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง ด้วยฌานที่เป็นสุญญตะบ้าง ด้วย
ฌานที่เป็นอนิมิตตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นอัปปณิหิตะบ้าง ด้วยฌานที่เป็นโลกิยะบ้าง
ด้วยฌานที่เป็นโลกุตตระบ้าง คือ เป็นผู้ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี
อารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์ของตน รวมความว่า พึงเป็นผู้มีฌาน
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า
ภิกษุเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข คือ ประกอบด้วยความ
เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข จึงเป็นผู้ขวนขวายในการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีจุดหมาย
แน่นอน จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง
จากบ้านหนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีก
นครหนึ่ง จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบทหนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :446 }