เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ
ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ
ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฎฐิได้แล้ว ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
ตาว่าเป็นของเรา... ไม่ถือมั่นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส...
โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร...
บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ...
กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ...
เอกโวการภพ1... จตุโวการภพ2... ปัญจโวการภพ3... อดีต... อนาคต... ปัจจุบันว่า
เป็นของเรา ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา
คำว่า อะไร ๆ ได้แก่ อะไรที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณ
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก... อายตนโลก รวมความว่า และไม่พึงยึดถือ
อะไร ๆ ในโลกว่า เป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส
และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา
[158] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ
ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย
ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว

เชิงอรรถ :
1 เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12
2 จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12
3 ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :441 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยโรคต่าง ๆ
คำว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ อธิบายว่า ภิกษุถูกผัสสะกระทบ คือถูก
โรคกระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ได้แก่ ถูกโรคทางตากระทบ ครอบงำ
กลุ้มรุม ประกอบเข้า โรคทางหู... โรคทางจมูก... โรคทางลิ้น... โรคทางกาย...
โรคศีรษะ... โรคหู... โรคปาก... โรคฟัน... โรคไอ... โรคหืด... ไข้หวัด... ไข้พิษ...
ไข้เชื่อมซึม... โรคท้อง... เป็นลมสลบ... ลงแดง... จุกเสียด... อหิวาตกโรค...
โรคเรื้อน... ฝี... กลาก... มองคร่อ... ลมบ้าหมู... หิดเปื่อย... หิดด้าน... หิด... หูด...
โรคละลอก... โรคดีซ่าน... โรคเบาหวาน... โรคเริม... โรคพุพอง... โรคริดสีดวงทวาร...
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ... ความเจ็บป่วยที่เกิด
จากลม... ไข้สันนิบาต... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดู... ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว... ความร้อน...
ความหิว... ความกระหาย... ปวดอุจจาระ... ปวดปัสสาวะ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจาก
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน กระทบ ครอบงำ กลุ้มรุม
ประกอบเข้า รวมความว่า เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
คำว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ อธิบายว่า
ไม่พึงทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่งความบ่นเพ้อ
ความคร่ำครวญ คือ กิริยาที่บ่นเพ้อ กิริยาที่คร่ำครวญ ภาวะที่บ่นเพ้อ ภาวะที่
คร่ำครวญ การพูดพล่าม การพูดเพ้อ การพูดเพ้อเจ้อ ความพร่ำเพ้อ กิริยาที่
พร่ำเพ้อ ภาวะที่พร่ำเพ้อ
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญ
ในที่ไหน ๆ
คำว่า ไม่พึงคาดหวังภพ ได้แก่ ไม่พึงหวัง ไม่พึงมุ่งหวัง ไม่พึงคาดหวัง
กามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า ไม่พึงคาดหวังภพ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :442 }