เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า
ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ
ภิกษุละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ
ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฎฐิได้แล้ว ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น
ตาว่าเป็นของเรา... ไม่ถือมั่นหู... จมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส...
โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร...
บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ...
กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ...
เอกโวการภพ1... จตุโวการภพ2... ปัญจโวการภพ3... อดีต... อนาคต... ปัจจุบันว่า
เป็นของเรา ไม่พึงยึดถือ คือ ไม่ยึด ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งว่าเป็นของเรา
คำว่า อะไร ๆ ได้แก่ อะไรที่เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร
เป็นวิญญาณ
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก... อายตนโลก รวมความว่า และไม่พึงยึดถือ
อะไร ๆ ในโลกว่า เป็นของเรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
พึงป้องกันหูมิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส
และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา
[158] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
เมื่อใด ภิกษุถูกผัสสะกระทบ
เมื่อนั้นเธอก็ไม่พึงทำความคร่ำครวญในที่ไหน ๆ
ไม่พึงคาดหวังภพ และไม่พึงกระสับกระส่าย
ในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว

เชิงอรรถ :
1 เอกโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12
2 จตุโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12
3 ปัญจโวการภพ ดูเชิงอรรถข้อ 3/12

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :441 }