เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
[9] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เหล่านั้น ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย
เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด ประสบทุกข์แล้ว
จึงคร่ำครวญอยู่ว่า เราจุติจากภพนี้ จักเป็นอะไรหนอ

ว่าด้วยกาม 2 อย่าง
คำว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกามทั้งหลาย อธิบายว่า
คำว่า กาม ได้แก่ กาม 2 อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (1) วัตถุกาม
(2) กิเลสกาม ... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม1
ตัณหาตรัสเรียกว่า ความยินดี คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา
อกุศลมูลคือโลภะ2 สัตว์ทั้งหลาย กำหนัด ยินดี คือ ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันในวัตถุกามด้วยกิเลสกาม รวมความว่า ยินดีในกามทั้งหลาย
คำว่า ขวนขวาย อธิบายว่า แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากามทั้งหลาย
เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไป
ในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้
ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหารูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส
... ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหาโผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น
มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปใน
กามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้ได้เฉพาะรูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้ได้เฉพาะ
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน
กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น
มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 1/1-2
2 ดูรายละเอียดข้อ 3/10-11

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :44 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักใน
กามนั้น เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น
มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม
เปรียบเหมือนสัตว์ผู้ก่อการทะเลาะ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทะเลาะ ผู้ทำการ
งาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในการทำงาน ผู้เที่ยวไปในโคจร ชื่อว่าผู้ขวนขวายในโคจร1
ผู้เจริญฌาน ชื่อว่าผู้ขวนขวายในฌาน ฉันใด แม้สัตว์ผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหากาม
ทั้งหลาย เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น เอนไปในกามนั้น
โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกามนั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่า
ผู้ขวนขวายในกาม
แม้สัตว์ผู้บริโภครูปด้วยอำนาจตัณหา ... เสียง ... กลิ่น ... รส ... ผู้บริโภค
โผฏฐัพพะด้วยอำนาจตัณหา เที่ยวไปเพื่อกามนั้น มากไปด้วยกามนั้น หนักในกามนั้น
เอนไปในกามนั้น โอนไปในกามนั้น โน้มไปในกามนั้น น้อมใจไปในกามนั้น มุ่งกาม
นั้นเป็นใหญ่ ชื่อว่าผู้ขวนขวายในกาม ฉันนั้นเหมือนกัน
คำว่า ลุ่มหลง อธิบายว่า โดยมากเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมหลง
ลุ่มหลง หลงงมงายในกามคุณ 5 เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้หลง
ลุ่มหลง หลงงมงาย คือถูกอวิชชาทำให้มืดบอด หุ้มห่อ โอบล้อม ห้อมล้อม
ครอบคลุม ปกคลุม บดบังไว้ รวมความว่า ยินดี ขวนขวาย ลุ่มหลงในกาม
ทั้งหลาย
คำว่า ผู้ตกต่ำ ในคำว่า เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมที่ผิด อธิบายว่า แม้ผู้
ไปต่ำ ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ แม้ผู้ตระหนี่ก็ตรัสเรียกว่า ผู้ตกต่ำ ผู้ไม่เอื้อเฟื้อคำ คำที่
เป็นแนวทาง เทศนา คำพร่ำสอน ของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้า
ก็ชื่อว่าผู้ตกต่ำ
ผู้ไปต่ำอย่างไร จึงชื่อว่าผู้ตกต่ำ ผู้ไปต่ำ อธิบายว่า ไปสู่นรก ไปสู่กำเนิด
เดรัจฉาน ไปสู่เปตวิสัย รวมความว่า ผู้ไปต่ำอย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ

เชิงอรรถ :
1 โคจร หมายถึงที่ควรเที่ยวไป อารมณ์หรือหน้าที่ที่จำเป็น มีสติปัฏฐานเป็นต้น (ขุ.ม.อ. 9/107) ดู
รายละเอียดข้อ 196/576-577

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :45 }