เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดขึ้นในตน
ย่อมทำร้ายบุรุษผู้มีจิตเลวทราม
เหมือนขุยไผ่กำจัดต้นไผ่ ฉะนั้น1
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นต้นเหตุ
ความไม่ยินดีกุศลธรรม
ความยินดีกามคุณซึ่งทำให้ขนลุก เกิดจากอัตภาพนี้
บาปวิตกในใจ เกิดขึ้นจากอัตภาพนี้
ย่อมผูกใจคนไว้ เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น2
ที่ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่นอนเนื่องอยู่ในอัตภาพ เป็นอย่างนี้บ้าง
คำว่า อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย ได้แก่ เป็นเครื่องกำจัดอันตราย คือ
เป็นเครื่องละอันตราย สงบอันตราย สลัดทิ้งอันตราย ระงับอันตราย เป็นอมต-
นิพพาน รวมความว่า ธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา อธิบายว่า
ขอพระองค์โปรดตรัส คือ โปรดบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก
ทำให้ง่าย ประกาศปฏิปทา ได้แก่ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติ
ที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/113/85, ขุ.อิติ. 25/50/272, ขุ.จู. 30/128/264
2 สํ.ส. 15/237/250, ขุ.สุ. 25/274/387, ขุ.จู. 30/128/264

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :436 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่นิพพาน รวมความว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นคำที่พระพุทธเนรมิตตรัสเรียกพระผู้มี-
พระภาคพุทธเจ้า อีกนัยหนึ่ง พระองค์ตรัสบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย
จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศธรรมใด ธรรมนั้นทั้งหมด เป็นธรรมดี เจริญ งาม
ไม่มีโทษ ควรซ่องเสพ รวมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัส
บอกปฏิปทา
คำว่า ปาติโมกข์1 ในคำว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ศีลอันเป็น
ที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า
เป็นประธานเพื่อความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล
คำว่า หรือแม้สมาธิ ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน
ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ รวมความว่า คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ ด้วยเหตุนั้น
พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ
[157] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า)
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้มีตาลอกแลก
พึงป้องกันหู มิให้ได้ยินคามกถา ไม่พึงติดใจในรส
และไม่พึงยึดถืออะไร ๆ ในโลกว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
1 ปาติโมกข์ ดูเชิงอรรถข้อ 10/48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :437 }