เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อนุสัย จริต อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อย
ในปัญญาจักขุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) เป็นอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก1 มารโลก2 พรหมโลก3 หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
1 เทวโลก ดูเชิงอรรถข้อ 7/36
2 มารโลก โลกคือมาร สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากที่หมายอันประเสริฐ สิ่งที่ล้างผลาญ
คุณความดีในโลกมี 5 ได้แก่
(1) กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัดขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความ
พินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
(2) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้ง
กันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคง เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น
(3) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา
เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์
(4) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดชั้นกามาวจรตนหนึ่ง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้ง
บุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้พะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไป
(5) มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวตัดโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณ
ความดีทั้งหลาย (วิสุทธิ.มหาฏีกา 1/144/302)
3 พรหมโลก โลกคือหมู่พรหม สวรรค์ชั้นพรหม ชั้นรูปพรหม 16 ชั้น
ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน) ได้แก่ (1) พรหมปาริสัชชา พวกบริษัทบริวารมหาพรหม
(2) พรหมปุโรหิตา พวกปุโรหิตมหาพรหม (3) มหาพรหมา พวกท้าวมหาพรหม
ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน) (4) ปริตตาภา พวกมีรัศมีน้อย (5) อัปปมาณาภา พวกมีรัศมี
ประมาณไม่ได้ (6) อาภัสสรา พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป
ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน) (7) ปริตตสุภา พวกมีลำรัศมีงามน้อย (8) อัปปมาณสุภา พวกมี
ลำรัศมีงามประมาณมิได้ (9) สุภกิณหา พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า
ง. จตุตถฌานภูมิ 3-7 (ระดับจตุตถฌาน) (10) เวหัปผลา พวกมีผลไพบูลย์ (11) อสัญญีสัตว์
พวกสัตว์ไม่มีสัญญา
สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือที่เกิดของพระอนาคามี)
(12) อวิหา เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน ผู้คงอยู่นาน
(13) อตัปปา เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร
(14) สุทัสสา เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา
(15) สุทัสสี เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด
(16) อกนิฏฐา เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร ผู้สูงสุด (อภิ.วิ.(แปล) 35/1024-1026/
671-674)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :428 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ปลาและเต่าชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละและปลาติมิติ-
มิงคละ1 ย่อมเป็นไปอยู่ภายในมหาสมุทร ฉันใด โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายใน
พระญาณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน นกชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมทั้งครุฑนาม
ว่าเวนไตย ย่อมบินไปในห้วงแห่งอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลาย ผู้เสมอกับ
พระสารีบุตรด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
พระพุทธญาณย่อมแผ่ครอบคลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์อยู่
เหล่าบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นคหบดี เป็นสมณะ ผู้มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูสามารถยิงเนื้อทรายได้ ดุจจะเที่ยวทำ
ลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาตน บัณฑิตเหล่านั้นพากันปรุงแต่งปัญหา ย่อมเข้าไป
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามปัญหาที่ลี้ลับและปิดบัง ปัญหาเหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาค
ทรงซักไซ้และตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุให้ทรงแสดง บัณฑิตเหล่านั้นถูกดึงดูด
ด้วยการวิสัชนาปัญหา จึงเลื่อมใสพระผู้มีพระภาค โดยที่แท้พระผู้มีพระภาคย่อม
ทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญาในหมู่คนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาค ชื่อว่ามีพระจักษุ
แจ่มแจ้งด้วยปัญญาจักขุ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคเมื่อทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักขุ ได้ทรงเห็นสัตว์
ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อยในปัญญาจักขุ ผู้มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ
มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย
ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก บางพวกเป็นผู้เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี บางพวกเป็น
ผู้ไม่เห็นโทษและภัยในปรโลกอยู่ก็มี เหมือนในกอบัวเขียว ในกอบัวแดง หรือในกอ
บัวขาว ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ
ขึ้นตามน้ำ จมอยู่ในน้ำและน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง หรือดอก
บัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำตั้งอยู่เสมอผิวน้ำ ดอกบัวเขียว ดอกบัวแดง
หรือดอกบัวขาว บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่ขึ้นพ้นระดับน้ำ น้ำไม่ติดเปื้อน

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 69/216

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :429 }