เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อนุสัย จริต อธิมุตติของเหล่าสัตว์ทุกจำพวก ทรงรู้จักเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีน้อย
ในปัญญาจักขุ มีกิเลสดุจธุลีมากในปัญญาจักขุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดี มีอาการทราม ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ง่าย ผู้ที่แนะนำให้รู้ได้ยาก เป็นภัพพสัตว์
(ผู้สมควรบรรลุธรรม) เป็นอภัพพสัตว์ (ผู้ไม่สมควรบรรลุธรรม) โลกพร้อมทั้ง
เทวโลก1 มารโลก2 พรหมโลก3 หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ

เชิงอรรถ :
1 เทวโลก ดูเชิงอรรถข้อ 7/36
2 มารโลก โลกคือมาร สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากที่หมายอันประเสริฐ สิ่งที่ล้างผลาญ
คุณความดีในโลกมี 5 ได้แก่
(1) กิเลสมาร มารคือกิเลส กิเลสเป็นมาร เพราะเป็นตัวกำจัดขัดขวางความดี ทำให้สัตว์ประสบความ
พินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
(2) ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 เป็นมาร เพราะเป็นสภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง มีความขัดแย้ง
กันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคง เป็นภาระในการบริหาร ทั้งแปรปรวนเสื่อมโทรมไปเพราะชราพยาธิเป็นต้น
(3) อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร อภิสังขารเป็นมาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำให้เกิดชาติ ชรา
เป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากสังสารทุกข์
(4) เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร เทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดชั้นกามาวจรตนหนึ่ง คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้ง
บุคคลไว้มิให้ล่วงพ้นจากอำนาจครอบงำของตน โดยชักให้พะวงในกามสุขไม่หาญเสียสละออกไป
(5) มัจจุมาร มารคือความตาย ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวตัดโอกาสที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณ
ความดีทั้งหลาย (วิสุทธิ.มหาฏีกา 1/144/302)
3 พรหมโลก โลกคือหมู่พรหม สวรรค์ชั้นพรหม ชั้นรูปพรหม 16 ชั้น
ก. ปฐมฌานภูมิ 3 (ระดับปฐมฌาน) ได้แก่ (1) พรหมปาริสัชชา พวกบริษัทบริวารมหาพรหม
(2) พรหมปุโรหิตา พวกปุโรหิตมหาพรหม (3) มหาพรหมา พวกท้าวมหาพรหม
ข. ทุติยฌานภูมิ 3 (ระดับทุติยฌาน) (4) ปริตตาภา พวกมีรัศมีน้อย (5) อัปปมาณาภา พวกมีรัศมี
ประมาณไม่ได้ (6) อาภัสสรา พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป
ค. ตติยฌานภูมิ 3 (ระดับตติยฌาน) (7) ปริตตสุภา พวกมีลำรัศมีงามน้อย (8) อัปปมาณสุภา พวกมี
ลำรัศมีงามประมาณมิได้ (9) สุภกิณหา พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า
ง. จตุตถฌานภูมิ 3-7 (ระดับจตุตถฌาน) (10) เวหัปผลา พวกมีผลไพบูลย์ (11) อสัญญีสัตว์
พวกสัตว์ไม่มีสัญญา
สุทธาวาส 5 (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือที่เกิดของพระอนาคามี)
(12) อวิหา เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน ผู้คงอยู่นาน
(13) อตัปปา เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร
(14) สุทัสสา เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา
(15) สุทัสสี เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด
(16) อกนิฏฐา เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร ผู้สูงสุด (อภิ.วิ.(แปล) 35/1024-1026/
671-674)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :428 }