เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ทะเลสีทันดรอยู่ระหว่างภูเขา 7 ลูก น้ำในทะเลสีทันดรนั้น ไม่
กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว ไม่ปั่นป่วนเลย คือ
เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม ไม่หมุนวน สงบ
คลื่นไม่เกิดในทะเลสีทันดรนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล
ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น เป็น
คำอุปไมยทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า พึงเป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า ภิกษุนั้นไม่หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่
เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภ
บ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข
เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า พึงเป็นผู้มั่นคง... ฉันนั้น
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหวนี้ ภิกษุใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว
ถอนได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณ
แล้ว ภิกษุนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเหตุหวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว ภิกษุนั้นย่อมไม่
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่
หวั่นไหว ฉันนั้น

ว่าด้วยกิเลสเครื่องฟูใจ 7 อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องฟูใจ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ ในที่
ไหน ๆ ได้แก่ กิเลสเครื่องฟูใจ 7 อย่าง คือ
1. กิเลสเครื่องฟูใจคือราคะ 2. กิเลสเครื่องฟูใจคือโทสะ
3. กิเลสเครื่องฟูใจคือโมหะ 4. กิเลสเครื่องฟูใจคือมานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :423 }