เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่มี ในคำว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มี
แต่ที่ไหน ๆ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยงไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าขาดสูญไม่มี
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ถือไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ควรปล่อยไม่มี
ผู้ใด ไม่มีสิ่งที่ถือไว้ ผู้นั้นก็ไม่มีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้นั้นก็
มีสิ่งที่ถือไว้ พระอรหันต์ก้าวพ้นการถือและการปล่อย ล่วงพ้นความเจริญและความ
เสื่อมได้แล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว1 ...
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่
มีแต่ที่ไหน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
[155] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจในที่ไหน ๆ
คำว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อธิบายว่า โดย
ส่วนลึก ทะเลลึก 84,000 โยชน์ น้ำส่วนล่าง 40,000 โยชน์ ย่อมกระเพื่อม
ด้วยฝูงปลาและเต่า น้ำส่วนบน 40,000 โยชน์ ก็กระเพื่อมด้วยลม น้ำส่วนกลาง
40,000 โยชน์ ไม่กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว
ไม่ปั่นป่วนเลย คือ เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม
ไม่หมุนวน สงบ คลื่นไม่เกิดกลางทะเลนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิด
ในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 6/26-27

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :422 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ทะเลสีทันดรอยู่ระหว่างภูเขา 7 ลูก น้ำในทะเลสีทันดรนั้น ไม่
กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว ไม่ปั่นป่วนเลย คือ
เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม ไม่หมุนวน สงบ
คลื่นไม่เกิดในทะเลสีทันดรนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล
ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง
คำว่า ฉันนั้น ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น เป็น
คำอุปไมยทำอุปมาให้สมบูรณ์
คำว่า พึงเป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า ภิกษุนั้นไม่หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่
เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภ
บ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข
เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า พึงเป็นผู้มั่นคง... ฉันนั้น
คำว่า ไม่หวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความ
กำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ
ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหวนี้ ภิกษุใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว
ถอนได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณ
แล้ว ภิกษุนั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเหตุหวั่นไหว
เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว ภิกษุนั้นย่อมไม่
หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน ไม่สะทกสะท้าน
เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ
เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่
หวั่นไหว ฉันนั้น

ว่าด้วยกิเลสเครื่องฟูใจ 7 อย่าง
คำว่า กิเลสเครื่องฟูใจ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ ในที่
ไหน ๆ ได้แก่ กิเลสเครื่องฟูใจ 7 อย่าง คือ
1. กิเลสเครื่องฟูใจคือราคะ 2. กิเลสเครื่องฟูใจคือโทสะ
3. กิเลสเครื่องฟูใจคือโมหะ 4. กิเลสเครื่องฟูใจคือมานะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :423 }