เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา
เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขาเพราะคุณธรรมนั้น
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว
ไม่พึงกำหนดตน ดำรงอยู่
[154] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
คำว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง อธิบายว่า ภิกษุพึงสงบราคะ พึงสงบโทสะ
พึงสงบโมหะภายใน... พึงสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับโกธะ... อุปนาหะ...
มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ..
มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความ
กระวนกระวายทุกอย่าง... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือนร้อนทุกประการ...
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายใน รวมความว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
คำว่า ภิกษุ... ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น อธิบายว่า ไม่พึง
แสวงหา คือ ไม่พึงค้นหา ไม่พึงเสาะหาความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความ
สงบเย็น ความดับ ความระงับไปโดยทางอื่น คือ โดยมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทา
ที่ผิด หนทางที่มิใช่ทางออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า ภิกษุ...ไม่พึงแสวงหา
ความสงบโดยทางอื่น
คำว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว อธิบายว่า เมื่อภิกษุสงบราคะ
สงบโทสะ สงบโมหะภายใน... เมื่อภิกษุสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายในได้แล้ว รวมความว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายใน
ได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :421 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่มี ในคำว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มี
แต่ที่ไหน ๆ เป็นคำปฏิเสธ
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าเที่ยงไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ ความเห็นว่าขาดสูญไม่มี
คำว่า ความเห็นว่ามีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ถือไม่มี
คำว่า ความเห็นว่าไม่มีตน (ไม่มี) ได้แก่ สิ่งที่ควรปล่อยไม่มี
ผู้ใด ไม่มีสิ่งที่ถือไว้ ผู้นั้นก็ไม่มีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้ใดมีสิ่งที่ควรปล่อย ผู้นั้นก็
มีสิ่งที่ถือไว้ พระอรหันต์ก้าวพ้นการถือและการปล่อย ล่วงพ้นความเจริญและความ
เสื่อมได้แล้ว พระอรหันต์นั้น อยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ประพฤติจรณธรรมแล้ว1 ...
และภพใหม่ก็ไม่มีอีก รวมความว่า ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่
มีแต่ที่ไหน ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
[155] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจในที่ไหน ๆ
คำว่า คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อธิบายว่า โดย
ส่วนลึก ทะเลลึก 84,000 โยชน์ น้ำส่วนล่าง 40,000 โยชน์ ย่อมกระเพื่อม
ด้วยฝูงปลาและเต่า น้ำส่วนบน 40,000 โยชน์ ก็กระเพื่อมด้วยลม น้ำส่วนกลาง
40,000 โยชน์ ไม่กระเพื่อม ไม่สั่นสะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นไหว
ไม่ปั่นป่วนเลย คือ เป็นทะเล ไม่หวั่นไหว ไม่กระฉอก ไม่เคลื่อนไหว ไม่กระเพื่อม
ไม่หมุนวน สงบ คลื่นไม่เกิดกลางทะเลนั้น ทะเลก็เรียบอยู่ รวมความว่า คลื่นไม่เกิด
ในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด อย่างนี้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 6/26-27

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :422 }