เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ภิกษุไม่พึงสำคัญตนว่าเราเลิศกว่าเขา
เราด้อยกว่าเขา หรือว่าเราเสมอเขาเพราะคุณธรรมนั้น
เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมเป็นอเนกแล้ว
ไม่พึงกำหนดตน ดำรงอยู่
[154] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น
เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว
ความเห็นว่ามีตน หรือความเห็นว่าไม่มีตน ก็ไม่มีแต่ที่ไหน ๆ
คำว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง อธิบายว่า ภิกษุพึงสงบราคะ พึงสงบโทสะ
พึงสงบโมหะภายใน... พึงสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับโกธะ... อุปนาหะ...
มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ..
มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความ
กระวนกระวายทุกอย่าง... ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือนร้อนทุกประการ...
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายใน รวมความว่า พึงสงบกิเลสภายในนั่นเอง
คำว่า ภิกษุ... ไม่พึงแสวงหาความสงบโดยทางอื่น อธิบายว่า ไม่พึง
แสวงหา คือ ไม่พึงค้นหา ไม่พึงเสาะหาความสงบ คือ ความเข้าไปสงบ ความ
สงบเย็น ความดับ ความระงับไปโดยทางอื่น คือ โดยมรรคที่ไม่หมดจด ปฏิปทา
ที่ผิด หนทางที่มิใช่ทางออกจากทุกข์ นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า ภิกษุ...ไม่พึงแสวงหา
ความสงบโดยทางอื่น
คำว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายในได้แล้ว อธิบายว่า เมื่อภิกษุสงบราคะ
สงบโทสะ สงบโมหะภายใน... เมื่อภิกษุสงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทภายในได้แล้ว รวมความว่า เมื่อภิกษุสงบกิเลสภายใน
ได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :421 }