เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
บททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก สีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความ
ถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
"ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข" เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "เหล่านี้อาสวะ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวสมุทัย"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา"
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
คำว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น อธิบายว่า
ภิกษุพึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา คือ สิกขา 3 เหล่านี้
เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :417 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
เมื่อพิจารณา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อตั้งสติ ชื่อว่า
พึงศึกษา เมื่อตั้งใจมั่น ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อรู้ชัด
ธรรมที่ควรรู้ชัด ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าพึงศึกษา
เมื่อละธรรมที่ควรละ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ก็ชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ
เอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ เพื่อกำจัด คือ บรรเทา ละ สงบ สลัดทิ้ง ระงับ
ตัณหาเหล่านั้น รวมความว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้า
ของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา
ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน
ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
[152] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน
หรือในภายนอก แต่ไม่ควรทำความดื้อรั้นเพราะคุณธรรมนั้น
เพราะการทำความดื้อรั้นนั้น
ผู้สงบทั้งหลายไม่กล่าวว่า เป็นความดับกิเลส
คำว่า ภิกษุพึงรู้คุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในภายใน อธิบายว่า ภิกษุพึง
รู้คุณธรรมของตนอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ คุณธรรมฝ่ายกุศล หรือคุณธรรมฝ่าย
อัพยากฤต1
คุณธรรมของตน เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นว่า เราเป็นผู้ออกบวชจากตระกูลสูง ออกบวชจาก
ตระกูลใหญ่ ออกบวชจากตระกูลมีโภคทรัพย์มาก หรือออกบวชจากตระกูลมี

เชิงอรรถ :
1 อัพยากฤต หมายถึงธรรมที่เป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์ หรือไม่ชี้ชัดลงไปว่า
ดีหรือชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :418 }