เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ
มีสติด้วยเหตุอีก 10 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
5. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
6. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณธรรมที่ทำคนให้เป็นเทวดา
7. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
8. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
9. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
10. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์)คือนิพพาน
สติ คือ ความตามระลึกถึง ความระลึกได้เฉพาะหน้า สติ คือ ความระลึกได้
ความจำได้ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม สติ คือ สตินทรีย์(สติที่เป็นใหญ่)
สติพละ(สติที่เป็นกำลัง) สัมมาสติ(ระลึกชอบ) สติสัมโพชฌงค์(สติเป็นองค์แห่งการ
ตรัสรู้ธรรม) เอกายนมรรค(สติที่เป็นทางเอก) นี้แหละ ตรัสเรียกว่าสติ บุคคลนั้น
ผู้ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ
คำว่า พึงศึกษา อธิบายว่า สิกขา 3 คือ
1. อธิสีลสิกขา 2. อธิจิตตสิกขา
3. อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์1
สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขา

เชิงอรรถ :-
1 ปาติโมกข์ ดูเชิงอรรถข้อ 10/48

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :416 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
บททั้งหลายอยู่ คือ สีลขันธ์เล็ก สีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็นความ
ประพฤติ เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นหัวหน้า เป็นประธานเพื่อความ
ถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นกุศล นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจาร สงบระงับไปแล้ว
บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไปมีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
"ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข" เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัส
ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
นี้ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ
หยั่งถึงความเกิดและความดับ เพิกถอนกิเลส ให้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกข์"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขสมุทัย"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "เหล่านี้อาสวะ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวสมุทัย"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธ"
เธอรู้ตามความเป็นจริงว่า "นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา"
นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
คำว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น อธิบายว่า
ภิกษุพึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา คือ สิกขา 3 เหล่านี้
เมื่อภิกษุนึกถึง ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบ ชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่าพึงศึกษา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :417 }