เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์
รวมความว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้า
คำว่า พึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง... อัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า มันตา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ
คำว่า อัสมิมานะ ได้แก่ มานะว่า "มีเรา" ฉันทะว่า "มีเรา" อนุสัยว่า "มีเรา"
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรม
เป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด คือ เข้าไป
ขจัด ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ ให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นราก
เหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยมันตา รวมความว่า
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะด้วยมันตา
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดใน
ภายใน ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดย
ประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา... ธัมมตัณหา
คำว่า ที่เกิดในภายใน ได้แก่ ตัณหาที่เกิดในภายใน จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน
อีกนัยหนึ่ง จิต ตรัสเรียกว่า ที่เกิดในภายใน คือ จิต มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิด
จากผัสสะเป็นต้นนั้น ตัณหานั้นไปพร้อมกัน คือ เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกี่ยวเนื่องกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิต
จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน รวมความว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :414 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผู้มีสติด้วยเหตุ 4
คำว่า ทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น
ได้แก่ ทุกเมื่อ คือ ในกาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิจ ตลอดกาล
ยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน ตลอดกาลสืบเนื่องกัน ตลอดกาลติดต่อกัน ตลอดกาล
เป็นลำดับ ตลอดกาลติดต่อกันเหมือนระลอกคลื่น ตลอดกาลเป็นไปต่อเนื่องไม่
ขาดสาย ตลอดกาลสืบต่อกันกระชั้นชิด ตลอดกาลก่อนภัต หลังภัต ตลอดปฐมยาม
มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม ตลอดข้างแรม ข้างขึ้น ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อน
ตลอดปฐมวัย มัชฌิมวัย ปัจฉิมวัย
คำว่า มีสติ อธิบายว่า มีสติด้วยเหตุ 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
2. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
3. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
4. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกับสติ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ
3. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ
4. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ
มีสติด้วยเหตุอีก 4 อย่าง คือ
1. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ
2. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :415 }