เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงจำแนก แยกแยะ แจกแจงธรรมรัตนะ
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำที่สุดแห่งภพได้
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมพระวรกายแล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงอบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญาแล้ว
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะ ที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ 4 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10
กสิณสมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10
เวสารัชชญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาคนี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง มิใช่
พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติและ
ผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :413 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
คำว่า พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ของพระ-
ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคนต้นโพธิ์
รวมความว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่อง
เนิ่นช้า
คำว่า พึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง... อัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ปัญญา
ตรัสเรียกว่า มันตา คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้น
ธรรม สัมมาทิฏฐิ
คำว่า อัสมิมานะ ได้แก่ มานะว่า "มีเรา" ฉันทะว่า "มีเรา" อนุสัยว่า "มีเรา"
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรม
เป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ภิกษุพึงขจัด คือ เข้าไป
ขจัด ให้ดับ ให้เข้าไปสงบ ให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ระงับบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นราก
เหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า และอัสมิมานะ ด้วยมันตา รวมความว่า
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะด้วยมันตา
คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง ในคำว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดใน
ภายใน ได้แก่ ทุกสิ่งโดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดย
ประการทั้งปวง คำว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เป็นคำกล่าวรวมไว้ทั้งหมด
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา... ธัมมตัณหา
คำว่า ที่เกิดในภายใน ได้แก่ ตัณหาที่เกิดในภายใน จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน
อีกนัยหนึ่ง จิต ตรัสเรียกว่า ที่เกิดในภายใน คือ จิต มโน มานัส หทัย
ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิด
จากผัสสะเป็นต้นนั้น ตัณหานั้นไปพร้อมกัน คือ เกิดร่วมกัน ระคนกัน เกี่ยวเนื่องกัน
เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิต
จึงชื่อว่าที่เกิดในภายใน รวมความว่า ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เกิดในภายใน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :414 }