เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
[151] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ดังนี้)
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้า
ของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา
ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน
ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
นั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คือตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา คืออะไร
คือ อวิชชา(ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ(ความไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย)
อัสมิมานะ(ความถือตัว) อหิริกะ(ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลัว)
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ คืออะไร
คือ อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :412 }