เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคทรงแสวงหา คือ ค้นหา เสาะหาสติปัฏฐานใหญ่ สัมมัปปธาน
ใหญ่ อิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ใหญ่ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคมีองค์ 8 ใหญ่
ปรมัตถอมตนิพพานใหญ่ จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้ที่เหล่าสัตว์มเหศักดิ์แสวงหา คือ ค้นหา
เสาะหาว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ไหน พระผู้
ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพประทับอยู่ที่ไหน พระผู้ทรงองอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน
จึงชื่อว่าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ รวมความว่า ผู้มีวิเวก มีสันติบท ทรงแสวงหา
คุณอันยิ่งใหญ่
คำว่า ภิกษุเห็นอย่างไร... ดับไป อธิบายว่า ภิกษุเห็น คือ แลเห็น เทียบเคียง
พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง อย่างไร จึงทำให้ราคะของตนดับไป ทำให้
โทสะของตนดับไป ทำให้โมหะของตนดับไป ทำให้โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ...
อิสสา... มัจฉริยะ... มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ...
มทะ... ปมาทะ... กิเลสทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง...
ความเร่าร้อนทุกสถาน... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ดับไป คือ ทำให้สงบ ให้เข้าไปสงบ ให้สงบเย็น ระงับเสียได้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ รวม
ความว่า ภิกษุเห็นอย่างไร... ดับไป
คำว่า จึงไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ได้แก่ ไม่ถือมั่น คือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน 4
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก
คำว่า อะไร ๆ ได้แก่ อะไร ๆ ที่เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รวมความว่า จึงไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเนรมิตจึงทูลถามว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์
ผู้ทรงเป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ผู้มีวิเวก มีสันติบท
ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ว่า ภิกษุเห็นอย่างไร
จึงไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :411 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
[151] (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ ดังนี้)
ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้า
ของส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา
ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดในภายใน
ภิกษุมีสติทุกเมื่อ พึงศึกษาเพื่อกำจัดตัณหาเหล่านั้น

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คำว่า ภิกษุพึงขจัดบาปธรรมทั้งปวง ที่เป็นรากเหง้าของส่วนแห่งธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าและอัสมิมานะด้วยมันตา อธิบายว่า ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
นั่นแหละ ชื่อว่าส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า คือ ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
คือตัณหา ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา คืออะไร
คือ อวิชชา(ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ(ความไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย)
อัสมิมานะ(ความถือตัว) อหิริกะ(ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลัว)
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา
รากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ คืออะไร
คือ อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
นี้ชื่อว่ารากเหง้าแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ
คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ
อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายราคะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโทสะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายโมหะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายมานะได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายทิฏฐิได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายเสี้ยนหนามได้แล้ว
ชื่อว่าพระผู้มีพระภาค เพราะทรงทำลายกิเลสได้แล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :412 }